วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เครื่องช่างไฟฟ้า

เครื่องมือช่างไฟฟ้าและความปลอดภัย
เครื่องมือที่มีคุณภาพ
มีการกล่าวกันเสมอว่า “ใช้เครื่องมือให้ถูกต้องกับงาน” เป็นเวลานานแล้วที่หลายๆ คนพบว่าการทำงานให้ได้ผลดีนั้นจะต้องใช้เครื่องมือที่ดีด้วยผู้ที่ทำงานนอกเวลาและผู้ที่เริ่มทำงานย่อมต้องการเครื่องมือที่ดีเป็นพิเศษ จากประสบการณ์แสดงให้เห็นว่า ถ้าใช้เครื่องมือดีแล้วจะทำให้ได้ผลงานออกมามากกว่า เครื่องมือที่ดีจะทนทานใช้งานได้ยืนยาวกว่าและทำให้ได้ผลงานที่ดี จากการเปรียบเทียบเครื่องมือที่ด้อยกว่าจะทำให้เสียเวลาในการทำงานเนื่องจากการแตกหักและความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น
ไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องมือหลายๆ ชิ้นในคราวเดียวกันทันที เพราะว่าเครื่องมือที่ดีนั้นมีราคาแพงมาก ควรจะซื้อเครื่องมือขั้นพื้นฐานอย่างดีสักสองสามชิ้นก่อน แล้วจึงซื้อเครื่องมือชนิดอื่นเพิ่มเติมเมื่อต้องการ โดยวิธีนี้ก็จะมีเครื่องมือที่ดีไว้เลือกใช้ได้หลายชนิดซึ่งไม่เฉพาะจะเป็นประโยชน์ต่องานอาชีพเท่านั้น แต่ยังใช้งานอย่างอื่นได้อีกหลายอย่างเช่น การซ่อมแซมบ้าน

ระบบการจัดเครื่องมือ
เนื่องจากเครื่องมือมีราคาแพงจึงต้องเก็บรักษาเครื่องมือให้ดีให้คุ้มกับการลงทุน เครื่องมือจะต้องพร้อมที่จะใช้งานเมื่อต้องการ เครื่องมือจะต้องไม่เสียหายจากการใช้งานประจำวันที่ผิดวิธีการจัดระบบเครื่องมือเป็นการจัดเครื่องมือไว้ที่จุดศูนย์กลางหรือจุดรวม ซึ่งสะดวกต่อการใช้งานและเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับเครื่องมือนั้นๆ
เครื่องมือไฟฟ้าสามารถที่จะจัดเก็บได้หลายวิธี แล้วแต่การใช้งานและสถานที่ ถ้าเป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับงานบนโต๊ะซ่อม หรือทำงานอดิเรกในบ้าน ควรจัดเก็บเครื่องมือติดไว้กับแผงสำหรับเก็บเครื่องมือ (pegboard) ถ้าเป็นเครื่องมือที่ใช้ในบริเวณก่อสร้าง ควรเก็บเครื่องมือใส่ถุงเครื่องมือสำหรับช่างไฟฟ้า ถ้าเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ภายในบ้านและนำไปใช้ทำงานภายนอกได้ด้วย ควรเก็บเครื่องมือไว้ในกล่องเครื่องมือถือ เป็นวิธีที่ดีที่สุด


                  

คีมปากยาว ใช้สำหรับม้วนสาย ทำห่วงสาย             คีมจับแบบเลื่อนได้ ใช้จับคอนเนคเตอร์                                                                           ล็อคนอต และคับปลิ้งท่อขนาดเล็ก
                
ที่ตึงฟิวส์ ใช้สำหรับดึงฟิวส์แบบคาร์ตริดจ์               ที่ปอกสายเคเบิลใช้ตัดส่วนหุ้มของ                                                                           สายเคเบิลที่ไม่เป็นโลหะ                                                                           และมีที่วัดขนาดสาย
                
ที่ปอกสาย ใช้สำหรับปอกแนวของสายไฟฟ้า           เลื่อยตัดเหล็กใช้ตัดสายไฟฟ้า
                                                                            ขนาดใหญ่ตัดท่อน้ำ ท่อเดินสายไฟฟ้า

                      
                 คีมตัด ใช้สำหรับตัดสายไฟฟ้า บิดสายให้เป็น          คีมปากทแยง   เกลียว            ตบแต่งปากท่อร้อยสายที่ขรุขระให้เรียบ                       ใช้ตัดสายไฟซึ่งคีมตัดเข้าไม่ได้
                 ดึงรู knockout ของ load center

                      
                                       ประแจเลื่อน ใช้สำหรับขันสกรูนอตหัวเหลี่ยม               ฟิชเทป ใช้สำหรับดึงสายร้อยท่อ
                                       ขันคับปลิ้งของท่อขนาดกลาง
                 
คัตเตอร์ ใช้สำหรับตัด หรือทำเครื่องหมาย               มีดช่างไฟฟ้า ใช้ปอกสายไฟฟ้า
                  
                             ที่ตรวจไฟฟ้าแบบใช้หลอดนีออน ใช้ตรวจสอบ            ที่วัดความต่อเนื่องของวงจร                             เพื่อให้ทราบว่าวงจรมีไฟฟ้าอยู่หรือไม่ปกติใช้             วัดขณะที่วงจรไม่มีไฟ เท่านั้น                                ตรวจสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้า้ ขนาด 9-500 โวลต์
                                                                                                                                                                                       
                      
เลื่อยหางหนู ใช้สำหรับเลื่อยไม้ เหล็ก แผงบอร์ด        สว่านข้อเสือ ใช้เจาะรู คว้านรู เพื่อต้องการทำงานเข้าออกของสายไฟฟ้าหรือท่อ       หรือใช้เป็นรีมเมอร์แต่งรูท่อได้
                     
ระดับน้ำ ใช้วัดความตรง ความเอียงของการโค้งท่อ        ไม้เมตรแบบพับได้                                                                                                               ใช้สำหรับวัดระยะ                              
                       
                             ค้อนช่างไม้ ใช้สำหรับตอกตะปู การติดตั้งกล่อง           สว่านไฟฟ้า ใช้สำหรับเจาะรู
                             วัดหาความสูงในการติดตั้งกล่อง ด้ามค้อนส่วน
                             มากยาว 12 นิ้ว

               
                              สิ่วปากบาง ใช้สำหรับตบแต่งไม้ เจาะไม้             ด้ามต่อดอกสว่าน ใช้ในที่ลึกๆ                                                                                                      ซึ่งสว่านชนิดอื่นเข้าไม่ได้
                   
                             ดอกสว่านเจาะไม้ ใช้สำหรับงานเจาะไม้ เหมาะ       ไขควงปากแบน                              
                               ที่จะใช้กับสว่านข้อเสือ                                           ใช้สำหรับคลายหรือขันสกรู 

                     
                            ดอกสว่านเจาะไม้ปากแบนเสียม เหมาะที่จะใช้กับ        ไขควงหัวแฉก ใช้สำหรับ                             สว่านไฟฟ้าเพื่อทำรูปแบบหยาบๆ                                คลายหรือขันสกรู
           
                             ดอกสว่านเจาะไม้แบบเปลี่ยนเลื่อนขนาดได้          ไขควงแบบจับงานได้ ใช้สำหรับ                                                                                                       ขันสกรูในที่แคบซึ่งมือเข้าไม่ถึง
รูปที่ 8
      แผงสำหรับเก็บเครื่องมือ แผงสำหรับเก็บเครื่องมือปกติจะทำด้วยไม้อัดขนาด 4 ฟุต คูณ 8 ฟุต จะต้องทำและยึดให้แข็งแรงเพื่อให้เหมาะสมกับเครื่องมือ ใช้เขียนรูปร่างของเครื่องมือลงบนแผงสำหรับเก็บเครื่องมือเพื่อจะได้รู้มีเครื่องมืออะไรบ้าง เมื่อใช้งานเสร็จจะได้เก็บเข้าที่ได้ถูกต้อง
การเขียนรายการและเขียนรูปร่างลงบนแผงสำหรับเก็บเครื่องมือ อาจจะใช้สีเขียนหรือใช้กระดาษสติกเกอร์ติดลงไปก็ได้

     ถุงเครื่องมือสำหรับช่างไฟฟ้า
ถุงเครื่องมือสำหรับช่างไฟฟ้าปกติจะทำงานจากหนังอย่างดี (ดูรูปที่ 9) ถุงเครื่องมือได้รับการออกแบบติดไว้กับเข็มขัดคาดเอวและเลื่อนไปมาได้
ปกติแล้วถุงเครื่องมือจะออกแบบไว้สำหรับใส่เครื่องมือได้สองสามอย่าง แต่บางชนิดอาจจะออกแบบสำหรับใส่เครื่องมือได้หลายอย่าง การเลือกซื้อถุงเครื่องมือนั้นจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับชนิดของงานที่จะทำ

รูปที่ 9 ถุงเครื่องมือสำหรับช่างไฟฟ้า
กล่องเหล็กเครื่องมือถือ ช่างไฟฟ้าส่วนมากชอบเก็บเครื่องมือไว้กับกล่องเหล็กเครื่องมือถือตามรูปที่ 10 กล่องที่ดีจะต้องออกแบบให้ล็อคได้และสามารถเก็บเครื่องมือได้สะอาด ไม่เปียกชื้น กล่องเหล็กสำหรับใส่เครื่องมือจะต้องมีพื้นที่สำหรับใส่เครื่องมือเข้าที่ได้อย่างพอเหมาะ สามารถที่จะเลือกและเก็บเครื่องมือได้ง่ายและถูกต้อง ทำรายการเครื่องมือติดไว้ที่ฝาด้านในของกล่องเหล็กเครื่องมือถือ เพื่อหลังจากเลิกใช้งานหรือทำงานเสร็จแล้วจะได้ตรวจสอบเครื่องมือได้ถูกต้องครบจำนวนหรือไม่
รูปที่ 10 กล่องเหล็กเครื่องมือถือสำหรับช่างไฟฟ้า

ไม่ว่าจะเลือกระบบการจัดเครื่องมือแบบใดก็ตาม ระบบการจัดเครื่องมือจะทำให้แน่ใจว่าจะสามารถหาเครื่องมือได้ง่ายและรวดเร็ว ทั้งยังทำให้เครื่องมือเหล่านั้นแห้งและมีความสะอาดสามารถใช้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ที่ต้องการ
ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ
     เครื่องมือ
   จงใช้เครื่องมือให้ถูกต้องกับงาน การใช้เครื่องมืออย่างปลอดภัยต้องมีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือนั้นๆ ดี การใช้เครื่องมือไม่ถูกต้องจะทำให้งานที่ทำไม่เรียบร้อยและผิดพลาดได้ง่าย กาใช้เครื่องมือที่ดีมีคุณภาพในการทำงานจะทำให้การทำงานสำเร็จและเรียบร้อย นอกจากจะใช้เครื่องมือให้ถูกชนิดแล้วยังต้องใช้ให้ถูกขนาดด้วย

   ศึกษาวิธีใช้เครื่องมืออย่างถูกต้อง เครื่องมือทุกชิ้นควรจะได้มีการศึกษาเพื่อให้ทราบวิธีการใช้อย่างปลอดภัยของแต่ละชิ้น อย่าฝืนด้วยแรง หรือใช้เครื่องมือเกินกำลัง ไม่ต้องกลัวหรืออายในการถามถึงวิธีการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้องและปลอดภัยการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้องและปลอดภัยการใช้เครื่องมือไม่ถูกต้อง เช่น ใช้ไขควงแทนสิ่วเอาไปเจาะไม้ หรือใช้คีมแทนประแจปากตายไปขันนอต จงจำไว้เสมอว่าการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้องจะทำให้การทำงานรวดเร็วกว่าและปลอดภัยกว่า การที่เราลงทุนซื้อเครื่องมือราคาแพง และลงทุนเสียเวลาหาเครื่องมือที่ดีๆ ยังเสียน้อยกว่าการเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงมากนัก

   เก็บเครื่องมือไว้ให้อยู่ในสภาพดีเสมอ การตรวจสอบเครื่องมือเป็นระยะๆ จะช่วยให้เครื่องมืออยู่ในสภาพดีเสมอ หมั่นตรวจดูเครื่องมือก่อนใช้งาน ถ้าสภาพของเครื่องมือไม่ดีพอหรือชำรุด ห้ามใช้เครื่องมือนั้นอย่างเด็ดขาด เครื่องมือที่ชำรุดนอกจากจะเป็นอันตรายแล้วยังทำให้ได้ผลงานน้อยกว่าการใช้เครื่องมือที่ดี เมื่อตรวจสอบพบว่าเครื่องมือชำรุดมีอันตรายจะต้องจัดการเปลี่ยนหรือซ่อมทันที

       เครื่องมือสำหรับตัดชิ้นงานจะต้องคมและสะอาดอยู่เสมอ เครื่องมือที่ไม่คมจะทำให้การทำงานไม่เรียบร้อยและอาจจะเกิดอันตรายได้โดยง่ายเพราะจ้องออกแรงมากจนไม่สามารถจะควบคุมการทำงานและการใช้เครื่องมือให้เป็นไปอย่างถูกต้องแม่นยำ สิ่งสกปรกหรือคราบน้ำมันที่ติดอยู่กับเครื่องมืออาจทำให้ลื่นและเกิดอันตรายได้
จงเก็บเครื่องมือไว้ในที่ปลอดภัย เครื่องมือที่ดีถ้าไม่เก็บไว้ที่ปลอดภัยแล้วอาจจะเป็นอันตรายได้โดยง่าย บ่อยครั้งที่อุบัติเหตุเกิดจากการวางเครื่องมือไว้บนบันได ชั้นวางของ หรือนั่งร้าน เครื่องมืออาจจะหล่นลงมาได้
เครื่องมือแต่ละอย่างควรระบุตำแหน่งที่จะเก็บไว้ในกล่องเก็บ ห้ามนำเครื่องมือใส่กระเป๋าเสื้อหรือกางเกง ยกเว้นกระเป๋าที่ออกแบบสำหรับใส่เครื่องมือนั้นๆ โดยเฉพาะ เช่น ควรเก็บดินสอไว้ในกระเป๋าที่ออกแบบสำหรับเก็บดินสอไม่ควรเอาดินสอเหน็บไว้ที่ใบหู หรือเสียบไว้ใต้หมวก
อย่าวางส่วนที่เป็นคมของเครื่องมือไว้กับขอบโต๊ะทำงาน เพราะการปัดทำความสะอาด อาจทำให้เครื่องมือนั้นตกลงมาถูกขา หรือเท้าทำให้บาดเจ็บได้ เมื่อต้องการจะเคลื่อนย้ายเครื่องมือที่แหลมคม ให้เอาส่วนที่แหลมหรือคมปักหัวลงข้างล่างหรือหันออกนอกตัวจะทำให้การเคลื่อนย้ายเครื่องมือเป็นไปด้วยความปลอดภัย และต้องแน่ใจเสียก่อนว่าสถานที่วางเครื่องมือนั้นจะต้องมีความปลอดภัยเสมอ
เครื่องมือไฟฟ้า อย่าพยายามใช้เครื่องมือไฟฟ้าโดยไม่รู้หลักการทำงานของเครื่องมือ หรือวิธีใช้และข้อแนะนำในด้านความปลอดภัยของเครื่องมือ ก่อนจะใช้งานควรสอบถามหรือขอคำแนะนำจากผู้รู้หรือหัวหน้างานของท่านเสียก่อน
ระบบการต่อลงดิน เครื่องมือไฟฟ้าทุกชนิดจะต้องมีการต่อลงดิน (grounding) เสมอ (ยกเว้นเครื่องมือไฟฟ้านั้นเป็นแบบฉนวนหุ้ม 2 ชั้น) เครื่องมือไฟฟ้าจะมีสายไฟฟ้า 3 เส้น มีปลั๊ก 3 ขา เพื่อต่อเข้ากับปลั๊กเสียบ 3 ช่องที่มีการต่อลงดิน รูปที่ 11 (ก) และ (ข) เป็นเต้าเสียบไฟฟ้าแบบมีสายดิน ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐานจาก OHSA และกฎการเดินสาย และติดตั้งไฟฟ้าของท้องถิ่น นับว่าเป็นอันตรายมากถ้าใช้ปลั๊กอะแดปเตอร์ (adapterplug) ที่มี 3 ขา ต่อกับเต้าเสียบ 3 ช่อง ให้เหลือเป็นเต้าเสียบ 2 ช่อง โดยไม่มีขั้วที่ต่อลงดิน นอกเสียจากว่าจะมีสายแยกไปต่อลงดินที่ดีพอ การต่อสายลงดินเป็นการให้ความมั่นใจว่าถ้ามีการช็อตเกิดขึ้นจะทำให้เซอร์กิตเบรกเกอร์ตัดหรือทำให้ฟิวส์ขาดเสมอ จงจำไว้เสมอว่า การไม่ต่อลงดินของเครื่องมือไฟฟ้าจะทำให้ท่านถูกไฟฟ้าดูดได้




(ก) เต้าเสียบชนิดใช้ภายในบ้าน มีสายดินเป็นแบบไม่ล็อค
(ข) เตจ้าเสียบชนิดใช้ภายนอกบ้าน มีสายดินเป็นแบบล็อค
รูปที่ 11
        เครื่องมือไฟฟ้าที่มีฉนวนหุ้ม 2 ชั้นนั้น จะใช้ปลั๊กแบบ 2 ขา และจะมีแผ่นป้ายกำกับบอกว่า เป็นเครื่องมือแบบมีฉนวนหุ้ม 2 ชั้น ซึ่งถ้าเป็นของยุโรปจะเขียนเป็นเครื่องหมาย ? ) เครื่องมือไฟฟ้าแบบนี้มีความปลอดภัยพอสมควร ปกติเครื่องมือไฟฟ้าแบบมีฉนวนหุ้ม 2 ชั้น ระบบไฟฟ้าของมอเตอร์จะถูกหุ้มด้วยฉนวนแบบพิเศษ ซึ่งเป็นตัวป้องกันไฟฟ้ารั่วอีกทีหนึ่ง เพราะฉะนั้นเครื่องมือชนิดนี้จึงไม่ต้องต่อสายลงดิน ทั้งภายนอกและภายในของเครื่องมือไฟฟ้าจะต้องสะอาดปราศจากสิ่งสกปรกหรือเปื้อนน้ำมันซึ่งเป็นตัวทำให้ไฟฟ้ารั่วได้ ห้ามนำเครื่องมือไฟฟ้าแบบมีฉนวนหุ้ม 2 ชั้นไปใช้งานขณะที่ฝนตก เพราะน้ำเป็นตัวนำไฟฟ้า และอาจจะถูกไฟฟ้าดูดได้
      กฎความปลอดภัย ควรศึกษากฎความปลอดภัยต่อไปนี้อย่างละเอียด และให้นึกถึงกฎเหล่านี้ในขณะที่ใช้เครื่องมือไฟฟ้า
1. เครื่องมือไฟฟ้าจะต้องมีการตรวจซ่อมเป็นระยะ ตามที่ระบุไว้โดยโรงงานผู้ผลิตหรือโดย OSHA


รูปที่ 12 การใช้เลื่อยไฟฟ้าอย่างถูกต้องจะต้องมีการ์ดสำหรับป้องกันใบเลื่อย ซึ่งทำให้มีความปลอดภัยในการทำงาน
2. ต้องรู้และเข้าใจคำแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยซึ่งโรงงานผู้ผลิตแนะนำไว้
3. ต้องตรวจสอบสายไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องมือไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ
4. ต้องแน่ใจว่าแผ่นกั้นสำหรับป้องกันเศษวัตถุกระเด็นออกมา จะต้องอยู่ในสภาพที่ใช้
งานได้ดี ห้ามเคลื่อนย้ายหรือถอดแผ่นกั้นออกอย่างเด็ดขาด รูปที่ 3.5 แสดงการใช้เลื่อยไฟฟ้าซึ่งมีแผ่นกั้นป้องกันใบเลื่อยย่างถูกต้อง
5. การปรับแต่งเครื่องมือไฟฟ้า การเปลี่ยนใบเลื่อย และการตรวจซ่อมจะต้องตัด
พลังงานไฟฟ้าออกหรือดึงปลั๊กออกจากเต้าเสียบเสมอ
6. ก่อนที่จะเสียบปลั๊กของเครื่องมือไฟฟ้าจะต้องแน่ใจว่าสวิตซ์ไฟฟ้าอยู่ในตำแหน่ง
ปิด OFF
7. ต้องใส่แว่นตานิรภัยหรือหน้ากากกันฝุ่น ถ้าจำเป็นต้องใช้
8. ต้องแน่ใจว่าชิ้นงานที่จะทำต้องยึดแน่นหรือไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ อยู่
9. ต้องตั้งใจทำงาน
10. ถ้ามีเสียงผิดปกติเกิดขึ้นในขณะที่กำลังทำงานให้หยุดเครื่องและรีบหาสาเหตุทันที
11. หลังจากทำงานเสร็จแล้วให้ตัดพลังงานไฟฟ้าออก รอจนกระทั่งเครื่องมือหยุดหมุน
ก่อนจึงค่อยจากไปหรือวางเครื่องมือลง
12. เมื่อเครื่องมือไฟฟ้าชำรุด ให้แยกเครื่องมือนั้นออกไปเก็บไว้ต่างหาก หรือเขียนป้าย
เตือน “ห้ามใช้” ติดไว้กับเครื่องมือตัวนั้น


ความปลอดภัยทางไฟฟ้า
ความปลอดภัยของช่างไฟฟ้าสมัยนี้มีความก้าวหน้ากว่าเมื่อสมัย 20-30 ปีก่อน ปัจจุบันมีกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยและกฎความปลอดภัยของ OSHA (ซึ่งได้กำหนดเกี่ยวกับหน้ากากป้องกันอันตรายหมวกกันน็อค และอุปกรณ์ป้องกันในการทำงานต่างๆ) ด้วยการใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย และใช้หลักการปฏิบัติการที่พอใจจะทำให้การทำงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้ามีความปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าใช้วิจารณญาณและการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องก็จะทำงานทางไฟฟ้าได้สำเร็จอย่างปลอดภัย
ช่างไฟฟ้าจะต้องรู้และสามารถที่จะประยุกต์หลักการเบื้องต้นของไฟฟ้าและความปลอดภัย ถ้าไม่สนใจต่อความปลอดภัยของตนเองก็เท่ากับทำให้เพื่อนร่วมงานไม่ปลอดภัยด้วย จงจำไว้เสมอว่าจงป้องกันอุบัติเหตุก่อนที่มันจะเกิด ถ้าทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าจะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับไฟฟ้าอย่างดีและถูกต้อง เมื่อใดก็ตามถ้ามีความสงสัยหรือไม่เข้าใจเกี่ยวกับไฟฟ้า ให้ถามผู้ที่มีความรู้เสมอ รายงานต่อหัวหน้างานในทันทีที่พบเห็นสภาวะการทำงานที่ไม่ปลอดภัย เครื่องมือเครื่องใช้ชำรุด และไม่ปลอดภัย หรืองานที่จะทำไม่ปลอดภัย
ฟิวส์ ก่อนที่จะถอดหรือเปลี่ยนฟิวส์จะต้องแน่ใจเสียก่อนว่าได้ตัดพลังไฟฟ้าออกจากวงจรด้วยสวิตซ์ และไม่มีไฟฟ้ามาที่ฟิวส์แล้ว การถอดฟิวส์จะต้องใช้เครื่องมือสำหรับดึงฟิวส์ (fuse puller) ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ และให้ดึงฟิวส์ทางด้านไฟ (hot side) ออกก่อนเสมอ เมื่อต้องการจะใส่ฟิวส์เข้าไปใหม่ ให้ใส่ฟิวส์ทางด้านโหลด (load side) ก่อนแล้วจึงใส่ทางด้านไฟเข้าเป็นอันดับต่อไปเสมอ
ไฟฟ้าดูด ไฟฟ้าดูดเกิดจากร่างกายของคนไปแตะหรือสัมผัสกับสายไฟฟ้าสองเส้น หรือร่างกายเป็นส่วนหนึ่งของทางเดินกระแสไฟฟ้า แต่ทั้ง 2 กรณีจะทำให้หัวใจและปอดหยุดทำงานได้ และผลจากความร้อนที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายจะทำให้เกิดแผลไหม้ในบริเวณที่กระแสไหลเข้าและออกจากร่างกาย
การป้องกันเท่านั้นที่เป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับรักษาการถูกไฟฟ้าดูด พึงระวังไว้เสมอว่าแรงดันไฟฟ้าทุกระดับเป็นอันตรายทั้งนั้น และพยายามศึกษาให้รู้เรื่องหลักการทำงานของไฟฟ้า และปฏิบัติตามทุกขั้นตอน
เมื่อต้องการใช้เครื่องมือไฟฟ้าจะต้องมั่นใจว่าเครื่องอยู่ในสภาพเรียบร้อย และจะต้องอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ให้แน่ใจเสียว่ามีสายไฟฟ้าเส้นที่ 3 ซึ่งเป็นสายสำหรับต่อลงดิน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดไฟฟ้ารั่ว ตามทฤษฎีแล้วถ้าเครื่องมือไฟฟ้าเกิดรั่วหรือฉนวนทางไฟฟ้าเกิดแตกและรั่วกระแสไฟฟ้าจะไหลลงสู่ดินทางสายไฟฟ้าเส้นที่ 3 แทนที่จะไหลผ่านร่างกายของผู้ใช้

การป้องกันเมื่อไม่ใช้งาน ก่อนที่เครื่องมือไฟฟ้าจะได้รับการซ่อมแซมต้องแน่ใจว่าได้ตัดพลังงานไฟฟ้าออกจากวงจรเรียบร้อยแล้ว และมีบัตรเขียนข้อความไว้ชัดเจนว่าห้ามใช้งาน หรือเครื่องชำรุดติดไว้ที่เครื่องมือนั้นๆ เมื่อจะเลิกทำงานไม่ว่าจะกรณีใดๆ หรือทำงานไม่เสร็จภายในวันนั้น จะต้องแน่ใจเสียก่อนว่าได้ตัดพลังงานไฟฟ้าออกจากเครื่องมือไฟฟ้านั้นแล้ว
รหัสสีเกี่ยวกับความปลอดภัย กฎของ OSHA ได้ตั้งรหัสสีขึ้นมาเพื่อเตือนในสิ่งที่เป็นอันตรายหรือให้ระวัง ตามตารางที่ 1 แสดงรหัสสีเกี่ยวกับความปลอดภัยซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน ให้ศึกษารหัสสีเหล่านั้นเพื่อจะได้คุ้นเคย
เสื้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกันเฉพาะตัวบุคคล
1. สวมรองเท้าสำหรับทำงานที่มีพื้นหนาเพื่อป้องกันวัตถุแหลมคมตามเท้า เช่น ตะปู
หรือสวมรองเท้าหัวหุ้มเหล็ก เพื่อป้องกันนิ้วเท้า
2. สวมรองเท้ายางหุ้มข้อเมื่อต้องทำงานในที่ชื้นแฉะ
3. สวมหมวกในขณะปฏิบัติงาน สวมหมวกกันน็อค ในสถานที่ทำงานที่เป็นอันตราย
เช่น บริเวณก่อสร้าง โรงรีดเหล็ก ถ้าผมยาวมากให้มัดผมให้เรียบร้อย หรือตัดให้สั้น หลีกเลี่ยงการยื่นศรีษะเข้าไปใกล้กับส่วนที่หมุนของเครื่องจักร


ตารางที่ 1 รหัสสีเกี่ยวกับความปลอดภัยตามกฎของ OSHA



ความปลอดภัยเกี่ยวกับเพลิง
อันตราจากเพลิงไหม้จะลดลงได้เมื่อปฏิบัติตามกฎเกี่ยวกับการระวังและดูแลรักษาบ้าน เช่น ของใช้ที่เสียแล้วภายในบ้านควรจะเก็บทิ้งไป
ถ้าเกิดเพลิงไหม้ขึ้น ก่อนอื่นต้องกดสัญญาณเตือนภัยเพลิงไหม้ให้เพื่อนร่วมงานทราบและเตรียมพร้อมที่จะผจญเพลิง พร้อมทั้งแจ้งหน่วยดับเพลิงให้มาช่วย ในช่วงระยะเวลาที่หน่วยดับเพลิงยังมาไม่ถึงให้ช่วยกันระงับเพลิงเท่าที่จะทำได้ถ้าเกิดเพลิงไหม้ไม่มากสามารถใช้เครื่องดับเพลิงแบบใช้ตามบ้านหรือโรงงานทั่วๆไปดับเพลิงที่ไหม้เหล่านั้นได้
   รายการต่อไปนี้เป็นชนิดของเพลิงซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ชนิด แต่ละชนิดของเพลิงจะเรียกเป็น คลาส (class)
    เพลิงคลาสเอ เป็นเพลิงที่เกิดจากไม้ เสื้อผ้า กระดาษ เศษขยะ และอื่นๆ ซึ่งมีลักษณะดังที่กล่าวมาแล้ว การดับเพลิงชนิดนี้สามารถดับด้วยน้ำได้ เครื่องดับเพลิงชนิดบรรจุก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ ก็ใช้ได้แต่กับเพลิงที่เกิดไม่มากนัก (สัญลักษณ์ของเครื่องดับเพลิงแบบนี้เป็นรูปสามเหลี่ยมสีเขียว)
   
      เพลิงคลาสบ
ี เป็นเพลิงที่เกิดจากของเหลว เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ น้ำมันเครื่อง น้ำมันจารบี ทินเนอร์ และสี เครื่องดับเพลิงชนิดนี้จะออกแบบให้ดับเพลิงได้โยการทำให้เกิดการอับอากาศโดยใช้สารเคมีปิดหน้าเพลิงที่กำลังลุกไหม้ ซึ่งกระทำได้โดยการใช้โฟม (foam) ร่วมกับก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ เพลิงชนิดนี้ห้ามใช้น้ำดับ (สัญลักษณ์ของเครื่องดับเพลิงชนิดนี้คือสี่เหลี่ยมสีแดง)

    เพลิงคลาสซี เป็นเพลิงที่เกิดจากเครื่องมือไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ให้ความสะดวกสบายต่างๆ ภายในบ้าน เช่น มอเตอร์ พัดลม ตู้เย็น เครื่องดับเพลิงที่ใช้กับการดับเพลิงชนิดนี้จะต้องเป็นชนิดที่ไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า และสามารถกลบเพลิงให้ดับได้ ห้ามใช้น้ำดับเพลิงชนิดนี้เด็ดขาด(สัญลักษณ์ของเครื่องดับเพลิงชนิดนี้เป็นรูปวงกลมสีน้ำเงิน)

     เพลิงคลาสด
ี เป็นเพลิงที่เกิดจากโลหะที่ไหม้ไฟ เช่น โซเดียม ไทเทเนียม เซอร์โคเนียม และ ลิเทียม การดับเพลิงชนิดนี้ต้องใช้การดับเพลิงชนิดผงแห้ง ซึ่งผงแห้งนี้จะเป็นตัวกลบเพลิง อาจจะใช้ที่ดับเพลิงชนิดบรรจุก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ได้ ห้ามใช้น้ำดับเพลิงชนิดนี้เป็นเด็ดขาด (สัญลักษณ์ของเครื่องดับเพลิงชนิดนี้เป็นรูปดาวสีเหลือง)

เครื่องดับเพลิงสถานที่ติดตั้งมีสีแดง

สัญลักษณ์แสดงชนิดของเพลิง

คลาส       เพลิงธรรมดา (สีเขียว)

คลาส       เพลิงจากของเหลว (สีแดง)
คลาส      เพลิงจากเครื่องมือไฟฟ้า (สีน้ำเงิน)
คลาส    เพลิงจากโลหะที่ไหม้ไฟ (สี้เหลือง)
รูปที่ 13 สัญลักษณ์ของเครื่องดับเพลิงแยกตามชนิดของเพลิงที่เกิด









        รูปที่ 13 แสดงสัญลักษณ์ทั้ง 4 ของเพลิงซึ่งหนึ่งในสี่ของสัญลักษณ์ดังกล่าวจะติดอยู่กับเครื่อง เครื่องหมายสีแดงจะบอกถึงสถานที่ตั้งเครื่องดับเพลิงคลาสต่างๆ เนื่องจากเครื่องดับเพลิงที่จะใช้ไม่สามารถดับเพลิงได้ทุกชนิด ช่างไฟฟ้าจึงควรศึกษาให้ทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้เครื่องดับเพลิงอย่างถูกต้อง
ควรจะอ่านคู่มือและวิธีใช้ก่อนการใช้เครื่องดับเพลิง ห้ามใช้น้ำดับเพลิงที่เกิดจากไฟฟ้า สารเคมี น้ำมันเบนซิน น้ำมันเชื่อเพลิง สี ซึ่งแทนที่จะดับกลับไปขยายการลุกลามของเพลิงมากขึ้นอีก


หมายเหตุ เครื่องมือดับเพลิงที่ใช้คาร์บอนเตตระคลอไรด์ วัสดุมีพิษ และของเหลวที่ระเหยได้ ถูกห้ามใช้โดยกฎหมายของรัฐบาล
ปกติแล้วเครื่องดับเพลิงจะทาสีแดง แต่ถ้าไม่เป็นสีแดง พื้นหลังจะต้องเป็นสีแดง เพื่อจะได้สังเกตได้โดยง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น