วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การดุแลจักรเย็บผ้า

 
 วิธีดูแลรักษาจักรเย็บผ้า
1.หลังจากใช้จักรแล้วทุกครั้ง  ให้ทำความสะอาดโดยใช้แปรงปัดฝุ่นออกจากฟันจักรและเปลกระสวย  ใช้สำลีหรือผ้ากำมะหยี่ทำความสะอาดหัวจักรทั่ว ๆ ไป
2.ในขณะใช้จักรควรใช้มือดึงสายพานเพื่อให้ล้อประคับหมุน  ไม่ควรใช้มือหมุนล้อประคับเพราะจะทำให้ล้อประคับเป็นสนิมได้ง่าย
3.หลังจากเย็บจักรแล้ว  ควรหยอดน้ำมันตามส่วนที่เป็นรูสำหรับหยอดน้ำมันที่หัวจักร และตามข้อเหวี่ยงของตัวจักรให้ทั่ว  โดยใช้น้ำมันเพียง 1-2  หยดต่อ 1  แห่ง 
ควรหยอดนำมัน อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง  หรือตามความจำเป็น
4.การเก็บจักรควรเก็บให้ห่างจากฝาผนังหรือกำแพงหรือที่ชื้น  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสนิมได้ง่าย
5.ถ้าเก็บจักรไว้เป็นเวลานานๆ  โดยไม่ได้ใช้ให้ทาด้วยจาระบีอย่างใสทุกส่วนที่เป็นโลหะเพื่อกันสนิม  หรือพับหัวจักรเก็บและใช้ผ้าคลุมจักรให้มิดชิด
6.ใช้ผ้าผืนเล็ก ๆ  รองใต้ตีนผีหลังจากใช้จักรแล้ว  และลดตีนผีลง  จะช่วยให้สปิรงกดตีนผีทนทานขึ้น
7.ถ้าพบว่ามีเศษด้ายติดอยู่ในบริเวณฟันกระสวยให้รีบเอาออก
8.ปิดจักรทุกครั้งที่ใช้เสร็จแล้ว โดยคลายหมุดบังคับวงล้อแล้วเอาสายพานออก

การดูแลสัตว์เลี้ยง

การรักษาหุ่นให้สวย

สาวน่ารักหุ่นสวยวิธีรักษาหุ่นให้สวย ไม่ให้อ้วนมากไป

วันนี้เรามีวิธีรักษาหุ่นให้สวยและไม่ให้อ้วนมากจนเกินไปมาฝากคุณผู้หญิงด้วยนะค่ะ เพราะเชื่อว่าคงจะไม่มีผู้หญิงคนไม่อยากที่จะหุ่นไม่ดีจริงไหมค่ะ แต่เรื่องของปากเนี่ยเป็นที่รู้กันดีว่าห้ามยากห้ามเย็นเหลือเกินแต่ยังไงก็ต้องสะกดใจไว้บ้างนะค่ะ แต่ก็เอาเถอะค่ะคุณลองมาดู วิธีรักษาหุ่นให้สวย ของเรากันก่อน คิดว่าน่าจะช่วยคุณผู้หญิงได้หลาย ๆ เลยทีเดียวค่ะ แต่อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่ที่ความใจแข็งของคุณด้วยนะค่ะเนี่ย เอาล่ะเรามาดู วิธีรักษาหุ่นให้สวย กันเลยดีกว่าค่ะ



วิธีรักษาหุ่นให้สวย ไม่ให้อ้วนมากไป


วิธีรักษาหุ่นให้สวย


เพราะใครๆ ก็อยากมีรูปร่างสลิม สเลนเดอร์ด้วยกันทั้งนั้น แต่ในเมื่ออ้วนไปแล้ว ก็อย่าเผลอไปตามใจปากอีกจน ทำให้มีน้ำหนักเกินไปกว่าที่เป็นอยู่ก็ละกัน เอ้า เมื่อตั้งใจแน่วแน่แล้วว่าไม่อยากอ้วน ก็มาลองทำตามนี้กันมะ

- เคยได้ยินบางท่านชอบพูดเล่น ๆ ไหมว่า ถ้าไม่อยากอ้วนก็อย่ากินสิ แหม๋..ถ้าไม่ทานซะเลยแล้วพวกเราจะมีเรี่ยวมีแรงทำงานหาเลี้ยงชีพกันรึจ๊ะ ดังนั้น การควบคุมน้ำหนักจึงไม่ใช่ไม่กินอะไรเลยแต่ควรทานในปริมาณที่น้อยต่างหากล่ะ

- ควรงดรับประทานอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ติดมันและอาหารทอด ถึงแม้รู้ทั้งรู้ว่า เนื้อสัตว์ติดมันหยั่งงี้น่ะ อร๊อย...อร่อย เช่น ขาหมู, หมูสามชั้น, กุนเชียงทอด, กากหมู, หนังไก่ทอด, ทอดมัน อะไรเหล่านี้ แหม๋...พูดแล้วน้ำลายไหล ถึงแม้จะอร่อยยังไงก็ขอให้อดใจไว้ซะเหอะ

- หยุดกินจุบกินจิบล่ะได้ไหมล่ะ แต่ไม่รู้ล่ะถึงยากแค่ไหนก็ควรลองก่อนนะเพราะการกินขนมกรุบกรอบหรือขนมขบเคี้ยวระหว่างมื้อ หรือรับประทานขนมแบบไม่เป็นเวล่ำเวลาน่ะจะทำให้พวกเรากินเกินและกินเพลินจนลืมยับยั้งชั่งใจสิว่า กินแล้วน้ำหนักมันจะขึ้นไปอีกกี่ขีดก็บ่อฮู้

- เพลา ๆ กิจกรรมนัดเพื่อนไปทานข้าวซะมั่ง เออแล้วทานข้าวกะเพื่อนนี่ก็ไม่รู้เป็นไงกินอะไรก็อร่อยไปหมด แต่ถ้ายังอยากรักษาหุ่นละก็คงต้องใจแข็งบอกปัดบ้างแล้วล่ะ เชื่อสิเพื่อนที่ดีย่อมเข้าใจแน่นอน

ท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่น

เทศกาลบอลลูนที่เมืองซางะ (Saga Balloon Fiesta)พิมพ์อีเมล

เทศกาลบอลลูนที่เมืองซางะ (Saga Balloon Fiesta) 
จัดเป็นประจำทุกปีในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนเป็นเวลา 5 วัน โปรแกรมการจัดงาน ช่วงเช้าของทุกวันตั้งแต่เวลา 07.00-09.00 น. จะมีการแข่งขันบอลลูน(Balloon Game) ที่ส่งเข้าแข่งขันจากบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ รวมทั้งจากประเทศอื่น ๆ ด้วย หลังจากปล่อยบอลลูนขึ้นฟ้าเสร็จแล้ว ก็จะเป็นช่วงเวลาของการเป่า บอลลูนแฟนตาเซีย โชว์เต็มท้องฟ้า
อ่านเพิ่มเติม... [เทศกาลบอลลูนที่เมืองซางะ (Saga Balloon Fiesta)]
 
สวนสนุกสไตล์ฮอลแลนด์ (Huis Ten Bosch )พิมพ์อีเมล

สวนสนุกสไตล์ฮอลแลนด์ (Huis Ten Bosch)
 ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลใกล้เมืองซาเซะโบะ(Sasebo) แต่ก็ยังอยู่ในจังหวัดนางาซากิ เดินทางมาได้ง่ายจากทั้งฟุกุโอกะและนางาวากิ ใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง เป็นทั้งสวนสนุกและรีสอร์ทสไตล์ฮอลแลนด์ ในอาณาบริเวณที่กว้างใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2535 เพื่อเป็นสถานที่หย่อนใจและรำลึกถึงชาวดัตช์ ซึ่งเป็นชาติในยุโรปที่ญี่ปุ่นยอมให้เข้ามาติดต่อค้าขายด้วยผ่านทางนางาซากิทำคุณประโยชน์ให้กับญี่ปุ่นไว้มากมาย
อ่านเพิ่มเติม... [สวนสนุกสไตล์ฮอลแลนด์ (Huis Ten Bosch )]
 
จุดชมวิวบนยอดเขาอินาเสะ (Mt.Inasa Ropeway)พิมพ์อีเมล

นั่งกระเช้าขึ้นสู่จุดชมวิวบนยอดเขาอินาเสะ (Mt.Inasa Ropeway)  
นั่งรถรางไปลงที่สถานี Takara-machi ผ่านสะพานข้ามทางรถไฟ ข้ามแม่น้ำเกือบ 30 นาทีก็จะถึงสถานีกระเช้าไฟฟ้า (Nagasaki Ropeway) สังเกตง่าย ๆ ตรงทางเข้าจะมีซุ้มประตูโทโรอิของศาลเจ้า Fuchijinja ตั้งอยู่ สถานีรถรางตั้งอยู่ข้าง ๆ ศาลเจ้านั่นเลย
อ่านเพิ่มเติม... [จุดชมวิวบนยอดเขาอินาเสะ (Mt.Inasa Ropeway)]
 
พิพิธภัณฑ์ระเบิดปรมาณูนางาซากิ (Nagasaki Atomic Bomb Museum)พิมพ์อีเมล

พิพิธภัณฑ์ระเบิดปรมาณูนางาซากิ (Nagasaki Atomic Bomb Museum) 
 พิพิธภัณฑ์ระเบิดปรมาณูตั้งอยู่ห่างจากสวนสันติภาพนางาซากิลงมาหนึ่งสถานีรถราง จัดแสดงเรื่องราวการถูกถล่มด้วยระเบิดปรมาณูลูกที่ 2 ต่อจากเมืองฮิโรชิม่า จนทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงครามในอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา
อ่านเพิ่มเติม... [พิพิธภัณฑ์ระเบิดปรมาณูนางาซากิ (Nagasaki Atomic Bomb Museum)]
 
โบสถ์อุราคามิ (Urakami Cathedral)พิมพ์อีเมล

โบสถ์อุราคามิ (Urakami Cathedral) 
 ตั้งอยู่ห่างจากสวนสันติภาพนางาซากิไปราว 400 เมตร เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิคที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น แต่ก็มาพังทลายลงหมด เพราะอยู่ห่างจากจุดที่ระเบิดปรมาณูตกลงไม่กี่สิบเมตร หลังที่เห็นในปัจจุบันสร้างขึ้นใหม่เมื่อปีค.ศ.1959 มีรูปสลักหินนักบุญไร้ศรีษะไหม้เกรียมด้วยอานุภาพของระเบิดมหาประลัยตั้งไว้หน้าโบสถ์หลายรูป เป็นอนุสรณ์เตือนใจถึงความเลวร้ายของสงคราม
อ่านเพิ่มเติม... [โบสถ์อุราคามิ (Urakami Cathedral)]
 
สวนสันติภาพนางาซากิ(Nagasaki Peace Park)พิมพ์อีเมล

สวนสันติภาพนางาซากิ(Nagasaki Peace Park)  
มีน้ำพุแห่งสันติภาพอยู่ตรงทางเข้า สร้างขึ้นเพื่อรำลึกเหยื่อระเบิดปรมาณูที่กระหายน้ำจนเสียชีวิต มองเห็นอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ตั้งตระหง่าน เป็นรูปปั้นผู้ชาย มือขวาชี้ขึ้นไปบนฟ้า สื่อถึงการเตือนให้เห็นภัยคุกคามจากระเบิดปรมาณู แขนข้างซ้ายขนานไปตามแนวราบ อันสื่อความหมายถึงความปรารถนาในสันติภาพของชาวโลก 
อ่านเพิ่มเติม... [สวนสันติภาพนางาซากิ(Nagasaki Peace Park)]
 
อนุสรณ์สถานแห่งการทรมานนักบุญทั้ง 26 (Site of the Martyrdom of the 26 Saints)พิมพ์อีเมล

อนุสรณ์สถานแห่งการทรมานนักบุญทั้ง 26 (Site of the Martyrdom of the 26 Saints)
 เป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างขึ้นทับบริเวณที่มิชชันนารีชาวสเปน 6 คนและชาวคริสต์ญี่ปุ่น 20 คนถูกตรึงกางเขนเสียชีวิตอย่างน่าเวทนา ในช่วงที่มีการกวาดล้างผู้นับถือศาสนาคริสต์ เมื่อปีค.ศ. 1597 ในสมัยโชกุนโทโยะโตมิ ฮิเดโยชิ

วิะธีการเลือกผักและผลไม้

การเลือกซื้อผักผลไม้

ผักและผลไม้เป็นอาหารประจำวันที่อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และกากใยอาหาร ซึ่งช่วยให้ร่างกายแข็งแรง แจ่มใส มีแรงต้านทานโรค ทำให้ผิวพรรณและนัยน์ตาสดใส เหงือกและฟันแข็งแรง ช่วยระบบประสาท ช่วยให้ระบบขับถ่ายและระบบย่อยอาหารทำงานด้วยดี
แต่เนื่องจากในสังคมปัจุบัน เทคโนโลยีการเกษตรมีการพัฒนามากขึ้น การใช้สารพิษกำจัดแมลงจึงมีอยู่ทั่วทุกแห่ง แต่เนื่องจากอาจใช้สารพิษกำจัดแมลงเป็นไปโดยขาดความรู้และความรับผิดชอบบางรายใช้ในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ใช้สารพิษร่วมกันหลายชนิด และการเก็บเกี่ยวผลผลิตก่อนครบกำหนดระยะเก็บเกี่ยว จากการใช้สารพิษกำจัดแมลงทำให้สารพิษยังสลายตัวไม่หมด และตกค้างอยู่ในผัก ผลไม้ นอกจากนั้นยังมีสารพิษจำนวนหนึ่งตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม เช่น ในดินและน้ำ จะเข้าไปสะสมในผักผลไม้ ยากแก่การกำจัดหรือลดปริมาณลง
ฉะนั้นเมื่อเรารับประทานผักและผลไม้ สารพิษนั้นก็จะเข้าสู่ร่างกายโดยตรง หากมีสารพิษตกค้างในร่างกายในปริมาณที่มาก จะทำให้เกิดอันตรายอย่างใหญ่หลวง อาจมีอาการหน้ามืด วิงเวียน ปวดศีรษะ ตกใจง่ายมองไม่ชัด อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน เป็นตะคริว ชักกระตุก แน่นหน้าอก เหงื่อออกมาก   รูม่านตาหรี่เล็กน้ำตา-น้ำมูก-น้ำลายไหล ผิวหนังเป็นตุ่มนูน กล้ามเนื้อสั่นกระตุก
ด้วยเหตุนี้เราชาวเจทั้งหลายควรมีความพิถีพิถันในการเลือกซื้อผักผลไม้ที่ไม่มีสารพิษตกค้าง หรือมีก็มีในจำนวนน้อยที่สุด เพื่อปัองกันไม่ให้ร่างกายของเราสะสมสารพิษจนเกิดเป็นอันตรายขึ้นมา
ไม่ควรเลือกชื้อผักที่มีใบสวยงามมากนัก ควรเลือกที่มีรูพรุนบ้าง แสดงว่าแมลงยังกินได้ เราก็กินได้เช่นกัน เนื่องจากใช้ยาฆ่าแมลงน้อยนั่นเอง ผักประะเภทกินหัวจะสะสมพิษตกค้างในดินมากกว่าผักกินใบ ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกผักที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง หรือใช้บ้างเล็กน้อย เช่น ตำลึง กระถิน ผักบุ้งถั่วงอก หัวปลี ดอกโสน  ดอกแค หน่อไม้ เป็นต้น
ปัจจุบันในบางจังหวัดมีการปลูก “ผักกางมุ้ง” ที่ว่านี้หมายถึงผักที่ปลูกโดยใช้ตาข่ายไนล่อนกางปิดเพื่อป้องกันแมลงลงกัดกิน จึงไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง
ส่วนผลไม้นั้นหากมิได้ขึ้นตามกิ่งและผล แสดงว่าอาจไม่มีสารพิษตกค้างหรือมีไม่มาก เลือกผลไม้ที่ชาวบ้านปลูกตามธรรมชาติไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง เช่น กล้วย มะละกอไม่เลือกผลไม้ที่มีรูพรุนหรือมีรอยแตก เช่น ส้มต้องเลือกผิวเรียบไม่มีรูหรือรอยแตกเมื่อชื้อผักผลไม้มาแล้ว ต้องล้างด้วยน้ำสะอาดหลาย  ครั้งควรล้างโดยใช้น้ำก๊อกไหลผ่านนานอย่างน้อย  นาที  ยิ่งดี หรืออาจใช้สารละลายอย่างใดอย่างหนึ่งล้างดังนี้
น้ำยาล้างผัก
น้ำด่างทับทิม ประมาณ ๕ เกล็ดใหญ่ต่อน้ำ  ๔    ลิตร
น้ำเกลือ  ช้อนโต๊ะพูนๆ ต่อน้ำ  ลิตร
น้ำซาวข้าว ใช้ข้าวสาร  กิโลกรัม ต่อน้ำ ๔ ลิตร (เวลาหุงข้าวเทน้ำเก็บไว้)
น้ำส้มสายชู ใช้ครึ่งถ้วยต่อน้ำ  ลิตร
โซดาทำขนม โดยใช้ผงโซดา  ช้อนโต๊ะต่อ น้ำ  ลิตร
ผลไม้ที่เปลือกบางหรือผักกินสดเปลือกบางสามารถกินได้ทั้งเปลือก แต่ควรล้างให้สะอาดโดยหลังจากล้างด้วยสารละลายอย่างหนึ่ง ล้างด้วยน้ำสะอาดตาม การกินทั้งเปลือกจะได้รับวิตามินซีสูงกว่าปอกเปลือก
หากสามารถทำได้เช่นนี้แล้ว เราชาวเจทั้งหลายก็จะได้รับสารพิษที่ตกค้างในผักและผลไม้น้อยมากหรือแทบจะไม่ได้รับสารพิษเลยก็ว่าได้

วิธีการเลือกเนื้อสัตว์

โดย KABUKI GRILL เมื่อ 26 มกราคม 2011 เวลา 7:11 น.
การเก็บรักษาเนื้อสัตว์
วิธีการเก็บรักษาเนื้อสัตว์
   เมื่อซื้อเนื้อสัตว์มาแล้ว ควรเก็บไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 4
องศาเซลเซียสทันที ควรเก็บไว้่ไม่เกิน 2 - 3 วัน เนื่องจากอุณหภูมิ
ดังกล่าว เชื้อจุลินทรีย์ยังสามารถเจริญเติบโตได้ แต่มีอัตราเจริญเติบโต
ต่ำากว่าการไม่แช่เย็น หากต้องการเก็บในระยะเวลายาวนาน ต้องเก็บเนื้อ
สัตว์ไว้ในช่องแช่แข็งที่มีอุณหภูมิต่ำากว่า -18 องศาเซลเซียส จะสามารถ
เก็บรักษาเนื้อสัตว์ได้นาน 12-18 เดือน
   ถ้าซื้อเนื้อสัตว์ชนิดที่แช่แข็ง ควรนำามาแช่ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น
ทันที มิฉะนั้นเนื้อสัตว์จะละลาย และอาจเป็นสาเหตุให้เชื้อจุลินทรีย์เติบโตได้
   ถ้าเนื้อสะอาดแล้วไม่ควรล้างทำาความสะอาดอีก เนื่องจากคุณค่า
ของอาหารจะละลายไปกับน้ำา และจะทำาให้เนื้อสัตว์เน่าเสียได้ง่าย
เนื้อสัตว์แช่เย็นดีอย่างไร
   เนื้อสัตว์ ถือว่าเป็นอาหารที่เชื้อจุลินทรีย์สามารถเจริญเติบโตได้ดี
โดยปกติการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 6 ปัจจัย 
ได้แก่แหล่งอาหาร ความชื้น อากาศ อุณหภูมิ เวลา และความเป็นกรด-ด่าง 
ทั้งนี้อุณหภูมิของเนื้อสัตว์เป็นปัจจัยหลักที่มีความสำาคัญ หากเนื้อสัตว์
มีอุณหภูมิสูงกว่า 10 องศาเซลเซียสขึ้นไป จะทำาให้เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค
อาหารเป็นพิษเพิ่มจำานวนได้รวดเร็ว บางครั้งเชื้อจุลินทรีย์จะสร้างสารพิษ
ที่มีอันตรายมาก สะสมอยู่ในเนื้อสัตว์ ซึ่งการนำาเนื้อสัตว์ไปปรุงสุก ไม่สามารถ
ทำาให้สารพิษดังกล่าวสลายได้ เป็นสาเหตุให้ผู้บริโภคเนื้อสัตว์ดังกล่าวป่วย 
หรืออาจเสียชีวิตได้ 
   การที่นำาเนื้อสัตว์ไปผ่านกระบวนการแช่เย็นนั้น เป็นวิธีการหนึ่ง
ในการหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ เป็นการเก็บรักษาควบคุม
คุณภาพ และรสชาติของเนื้อสัตว์ ทั้งนี้อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษา
เนื้อสัตว์ คืออยู่ระหว่าง 4-10 องศาเซลเซียส



การเลือกซื้อเนื้อสัตว์
   เนื้อสัตว์ถือเป็นแหล่งอาหารที่สำาคัญต่อการบริโภคของมนุษย์ 
เพราะอุดมไปด้วยโปรตีน แร่ธาตุ วิตามินที่จำาเป็น รวมทั้งเป็นแหล่งพลังงาน 
ให้แก่ร่างกาย
   ในประเทศไทยผู้บริโภคนิยมบริโภคเนื้อสัตว์หลายชนิด ได้แก่
เนื้อสัตว์ปีก เนื้อสุกร และเนื้อโคกระบือ โดยความนิยมอาจมีความแตกต่างกัน
ในแต่ละภูมิภาค เชื้อชาติ และศาสนา

การเลือกซื้อเนื้อสุกร
ลักษณะเนื้อสุกรที่ดี
• ควรมีสีชมพูปนแดงเรื่อๆ นุ่ม ผิวเป็นมัน
   เนื้อแน่น 
• ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่เป็นเมือกลื่น 
• ไม่ช้ำาเลือด ไม่แห้ง และไม่มีสีเขียว 
• ไขมันสุกรควรมีสีขาวขุ่น 
ข้อแนะนำ
ควรเลือกซื้อเนื้อสุกรจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือได้รับการรับรองจาก
กรมปศุสัตว์
กรณีซื้อเนื้อสุกรแช่เย็น ให้สังเกตวันที่ผลิตบนบรรจุภัณฑ์ ไม่ควร
เกิน 3 วัน นับจากวันที่ผลิตจนถึงวันที่ซื้อ
ไม่ควรเลือกเนื้อสุกรที่มีสีแดงเกินไป และมีชั้นไขมันบาง เพราะมีความ
เป็นไปได้สูงที่จะปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดง 
เนื้อสุกรที่ปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดงถ้าหั่นและปล่อยทิ้งไว้ จะมีลักษณะแห้ง
และมีสีเข้มกว่าปกติ ส่วนเนื้อสุกรปกติเมื่อหั่นทิ้งไว้จะพบน้ำาซึมออกมา
บริเวณผิว เนื้อสุกรปกติจะมีเนื้อแดง 2 ส่วน (67%) ต่อไขมัน 1 ส่วน (33%)
แต่สุกรที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงจะมีปริมาณเนื้อแดงสูงถึง 3 ส่วน (75%)
ต่อไขมัน 1 ส่วน (25%)


การเลือกซื้อเนื้อโค และกระบือ
ลักษณะเนื้อโค และกระบือที่ดี
• ควรมีสีแดงสม่ำาเสมอตลอดทั้งชิ้น 
• ควรมีไขมัน (marbling) แทรกกระจายอยู่ในชิ้นเนื้อ ในโคอายุน้อย
   ควรมีไขมันสีขาวครีม ในโคแก่ หรือโคนมที่อายุพ้นวัยให้นมแล้ว
จะมีไขมันสีเหลือง
• ไม่ช้ำาเลือด ไม่แห้ง กดแล้วไม่บุ๋ม
• ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่เป็นเมือกลื่น  
ข้อแนะนำ
ควรเลือกซื้อเนื้อโค และกระบือ จากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือได้รับการ
รับรองจากกรมปศุสัตว์
 กรณีซื้อเนื้อโค และกระบือแช่เย็น ให้สังเกตวันที่ผลิตบนบรรจุภัณฑ์ 
ไม่ควรเกิน 3 วัน นับจากวันที่ผลิตจนถึงวันที่ซื้อ
ความแตกต่างระหว่างเนื้อโคกับเนื้อกระบือ
• เนื้อโคมีสีแดง เนื้อแน่นละเอียด ไขมันโคมีสีเหลือง 
• เนื้อกระบือจะหยาบ เนื้อเหนียว และมีสีคล้ำากว่าเนื้อโค ไขมันที่ติดเนื้อ
   กระบือจะมีสีขาว



การเลือกซื้อเนื้อสัตว์ปีก
ลักษณะเนื้อสัตว์ปีกที่ดี
• ควรมีลักษณะเนื้อแน่น ผิวตึง เมื่อใช้นิ้วแตะต้องไม่เป็นรอยบุ๋ม
   ตามแรงกด
• เนื้อมีสีสด ไม่ซีดหรือมีจ้ำาเขียว ใต้ปีก ขา และลำาคอที่ต่อกับลำาตัว
   ต้องไม่มีสีคล้ำา
• ไม่มีจุดเลือดออกหรือตุ่มหนอง ไม่มีแผลตามตัว 
• ลูกตาไม่ลึกบุ๋ม
• ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่เป็นเมือกลื่น 
ข้อแนะนำ
ควรเลือกซื้อเนื้อสัตว์ปีกจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือได้รับการรับรอง
จากกรมปศุสัตว์
 กรณีซื้อเนื้อสัตว์ปีกแช่เย็น ให้สังเกตวันที่ผลิตบนบรรจุภัณฑ์ 
ไม่ควรเกิน 3 วัน นับจากวันที่ผลิตจนถึงวันที่ซื้อ
การเลือกซื้อเนื้อไก่ 
• ถ้าเป็นไก่อ่อน เล็บจะแหลม หนังใต้อุ้งเท้าบาง เดือยสั้น เนื้ออก
   หนาและนุ่ม
• ถ้าเป็นไก่แก่จะมีปลายเล็บมน หนังใต้อุ้งเท้าหนาแข็ง เดือยยาว 
การเลือกซื้อเนื้อเป็ด 
• ถ้าเป็นเป็ดอ่อน ปากและเท้าจะเป็นสีเหลือง 
• ถ้าเป็นเป็ดแก่  เท้าจะมีสีดำา เนื้อจะเหนียว และมีกลิ่นสาบมาก

วิธีการประกอบคอมพิวเตอร์

                  ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวันของเราอย่างมากมาย
               ผู้คนให้ความ สนใจกันอย่าง กว้างขวาง แทบจะทุกคนที่ต้องมีความเกี่ยวพันและใช้งาน
               คอมพิวเตอร์ในทุกสาขาอาชีพ ทำให้คอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาให้ประกอบและติดตั้ง
               เพื่อใช้งานได้ง่ายกว่าแต่ก่อนมาก... ดังนั้น  จึงไม่ใช่เรื่องยาก หากเราคิดที่จะประกอบ
               
เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมาและติดตั้งโปรแกรมใช้เอง....ใช่ไหม?


 ต้องเตรียมตัวอย่างไรก่อนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์                              
                           การประกอบชิ้นส่วนอุปกรณ์ขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น มีทั้งศาสตร์และศิลป์
            คือต้องมีความรู้เกี่ยวกับการทำงานของชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ และต้องวางแผนลำดับขั้นตอน
            การประกอบเครื่อง เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเพราะหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น อาจต้องถอด
            อุปกรณ์เข้าออกหลายครั้งซึ่งอาจจะทำให้ อุปกรณ์นั้นเสียหายได้  ดังนั้น...เราจึงควร
           จัดเตรียมสิ่งเหล่านี้นะคะ ...
            1.  เตรียมและทำความรู้จักกับอุปกรณ์ที่จำเป็น  
    
                 การเตรียมและทำความรู้จักกับอุปกรณ์ต่างๆ เ ป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ประกอบคอมพิวเตอร์
         จะต้องทราบถึงความสำคัญและหน้าที่ของอุปกรณ์ที่จะประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
         เรามาทำความรู้จักกับอุปกรณ์เหล่านี้เลยนะคะ..
เคส (Case)
 
 เคส (Case)
เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นโครงหรือกล่องสำหรับบรรจุ
และยึดอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์เอาไว้ภายใน
เช่น แผงวงจรหลักฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำ หน่วย
ประมวลผลให้มีความมั่นคงกะทัดรัด เคลื่อนย้ายได้
ขณะเดียวกันก็เพื่อ ความปลอดภัย เช่นป้องกันไฟดูด
ป้องกันอุปกรณ์สูญหายและการป้องกันการส่งคลื่น
รบกวนการทำงานของอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ อาจทำ
มาจาก โครงเหล็ก อลูมิเนียม หรือพลาสติก ลักษณะ
ของเคสมีทั้งแบบแนวนอนและแนวตั้ง ปัจจุบันผู้ผลิต
มีการออกแบบรูปร่างหน้าสวยงามน่าใช้ ซึ่งมีมากมาย
หลายราคาให้เลือกใช้
เมนบอร์ด (Mainboard)
   เมนบอร์ด (Mainboard)
เมนบอร์ด คือ แผงวงจรหลักที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วน
อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆ ทำหน้าที่เป็นกลางทำให้อุปกรณ์ต่างๆ
ทำงานร่วมกันได้และเป็นศูนย์กลางในการต่อเชื่อมอุปกรณ์อื่น
ไม่ว่าจะเป็น CPU, RAM, HDD, CD-ROM, FDD
VGA CARD เป็นต้น เมนบอร์ดแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ
จะสนับสนุนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ไม่เหมือนกัน เมนบอร์ดใน
ปัจจุบันมีอุปกรณ์มาพร้อมกับเมนบอร์ดมากขึ้น (on board)
ทำให้สามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ในราคา
ที่ไม่แพงนัก
ซีพียู (CPU)
  ซีพียู (CPU:Central Processing Unit)
คือ หน่วยประมวลผลกลาง : เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุด
ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่คำนวณ และประมวลผล
คำสั่งข้อมูลต่าง ๆที่ผู้ใช้ สั่งผ่านเข้ามาเปรียบเสมือน
มันสมองของมนุษย์ ซีพียูได้รับการพัฒนาให้มีขีดความ
สามารถสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตซีพียู
ที่รู้จักกันดี คือ Intel และ AMD
หน่วยความจำแรม (RAM )
  หน่วยความจำแรม
(RAM:Random Access Memory)
เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้
จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้า
หล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง
ข้อมูลที่ อยู่ภาย ในหน่วยความจำชนิดนี้จะหายไปทันที
หน่วยความจำแรมทำหน้าที่ รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU
ประมวลผล
ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
   ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
เป็นสื่อบันทึกข้อมูลประเภทหนึ่ง (Storage Device)
ปัจจุบันเป็นอุปกรณ์ ที่จำเป็น และ เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่
ติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง ใช้ในการ
ติดตั้งระบบปฏิบัติการลงโปรแกรม ประยุกต์และ เก็บข้อมูล
ของผู้ใช้ เนื่องจากโปรแกรมหรือข้อมูลในปัจจุบันมีขนาด
ใหญ่ไม่สามารถที่จะเก็บลงในแผ่นดิสเก็ตได้หมด ฮาร์ดดิสค์
จะบรรจุอยู่ในกล่องโลหะปิดสนิท เพื่อป้องกันสิ่งสกปรก
หลุดเข้าไปภายใน ซึพียู
เพาว์เวอร์ซัพพลาย
(Power Suppy)
  เพาว์เวอร์ซัพพลาย (Power Suppy)
คือแหล่งจ่ายไฟ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญส่วนหนึ่ง ทำหน้าที่
แปลง สัญญาณ ไฟฟ้ากระแสสลับ จากแหล่งกำเนิดให้เป็นไฟฟ้า
กระแสตรงด้วยความต่างศักย์ที่เหมาะสมก่อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์
โดยมีสายเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ภายในเครื่อง
ซึ่งในการแปลงสัญญาณไฟฟ้าดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดความร้อน
ขึ้นด้วย ดังนั้นภายในแหล่งจ่ายไฟ จึงต้องมีพัดลมเพื่อช่วยในการ
ระบายความร้อนออกจากตัวเครื่อง ซึ่งมีความสำคัญมากเพราะ
การที่เครื่องมีความร้อนที่สูงมาก ๆ นั้น อาจจะเกิดความเสียหาย
ต่ออุปกรณ์ประกอบภายในเครื่องได้ง่าย
การ์ดแสดงผล (Display Card)
    Display Card (การ์ดแสดงผล : การ์ดจอ)
หลักการทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อ
โปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ซีพียูเมื่อซีพียู
ประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบน
จอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่ง
ข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมาการ์ดแสดงผล
รุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็ว
การแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มาก
พอสมควร
Sound Card (การ์ดเสียง)
     Sound Card (การ์ดเสียง)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ประมวลภาพและสร้างสัญญาณเสียงต่างๆ
เพื่อส่งออกไปยังลำโพง การ์ดเสียงได้รับการพัฒนาคุณภาพ
อย่างรวดเร็วเพื่อ ให้ได้ประสิทธิภาพของเสียงและความผิดเพี้ยน
น้อยที่สุด ความชัดเจนของเสียง จะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้น
ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่าง และ
ความแม่นยำ ของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้น
ถูกกำหนด โดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความ
ละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณค่าสัญญาณ
ดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ
A/D Converter นั้นถูกกำหนดโดยจำนวนบิตของสัญญาณ
ดิจิตอลเอาต์พุตหากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียด
ยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของสัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ
ประสิทธิภาพที่ของเสียง ที่ได้รับดีขึ้นนั่นเอง แต่จำนวนบิตต่อ
หนึ่งตัวอย่างจะมากขึ้นด้วย    
   ในปัจจุบันนั้นผู้ผลิตเมนบอร์ดต่างก็นำการ์ดเสียงเข้าไป
รวมกับแผงเมนบอร์ดเกือบทุกรุ่นแล้ว แต่การ์ดเสียงที่เป็นชิ้น
ก็ยังคงมีขายอยู่ในปัจจุบันเพราะการ์ดเสียงที่อยู่บนเมนบอร์ดนั้น
ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ยังไม่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ได้
ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ (FDD)
     ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ (FDD)
ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ หรือที่เราเรียกง่ายๆ ว่า Drive A คือ อุปกรณ์
ที่ใช้สำหรับอ่านแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ ขนาด 3.5 " มีขนาดความจุ
1.44 MB. แต่ในอดีตนั้น ดิสก์ไดรว์ลักษณะนี้จะมีอยู่หลายขนาด
เช่น ขนาด 5 1/4" ซึ่งในอดีต เป็นที่นิยมใช้งานกันมากเพราะ
สามารถพกพาไปไหนได้สะดวกและโปรแกรมการใช้งาน
ในอดีตก็มีขนาดที่เล็กจนสามารถบันทึกลงไปในดิสก์แผ่นเดียวได้
ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมนักผู้ใช้บางคนนิยมเลือกใช้เป็นการ์ดรีดเดอร์
หรือหน่วยความจำแบบเฟรส (แฮนดี้ไดรว์)
ซีดีรอมไดรว์ (CD-ROM )
     ซีดีรอมไดร์ว (CD-ROM Drive)
คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลต่างๆ ที่อยู่บน CD-Rom
ซึ่งในปัจจุบันได้มีการพัฒนาซีดีรอมไดรว์ไห้สามารถเขียนแผ่น
CD-R ,CD-RW , DVD-R และ DVD-RW ได้ ซึ่งนอกจาก
ความหลากหลายในการอ่านและเขียนข้อมูลแล้ว ก็ยังได้มีการ
พัฒนาความเร็วในการอ่านและเขียนควบคู่กันไปด้วย
      
      ไปที่เมนูขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
       2. ชุดเครื่องมือสำหรับประกอบเครื่อง      
                      คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่มีชิ้นส่วนค่อนข้างเล็ก  การหยิบจับ
            อาจจะไม่สะดวกจึงควรเตรียมชุด เครื่องมือสำหรับการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ดังนี้ค่ะ
    

ตัวอย่างไขควง
 และน๊อตแบบต่างๆ 
             ไขควงปากแบนและไขควงแฉกขนาดกลาง - ใช้ขันน๊อตยึดเมนบอร์ด
                    เข้ากับตัวเคส ยึดการ์ดเพิ่มเติมติดตั้งฟล็อบปี้ดิสก์ ซีดีรอมไดรว์ และฮาร์ดดิสก์
                    ตลอดจนการปิดฝาเคส
             ตัวครีบสกรู - ใช้คีบน๊อตใส่ในช่องเกลียวสำหรับน๊อตในที่คับแคบที่ไม่สามารถ
                             ใช้มือจับได้
             ตัวถอดชิป - ในเครื่องรุ่นเก่าตัวชิปมักจะติดตั้งอยู่ในซ็อกเก็ตในลักษณะ
                             ถอดเปลี่ยนได้ ซึ่งตัวถอดชิปจะช่วยได้มากแต่ในปัจจุบันชิปมักจะถูกฝัง
                             บนตัวการ์ดหรือเมนบอร์ดตั้งแต่ผลิตออกมาจากโรงงานแล้ว การถอด
                             ต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่ผลิตมาโดยเฉพาะ
              หลอดเก็บสกรูและจัมเปอร์ - ใช้สำหรับเก็บสกรูและจัมเปอร์ที่เหลือ
                             จากการประกอบเครื่อง ไ
ว้ใช้ในยามจำเป็น
              ปากคีบ - สำหรับคีบจับสกรูหรืออุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ ที่ใช้มือที่หยิบไม่ได้
              บล็อกหกเหลี่ยมขนาดเล็ก ใช้สำหรับขันน๊อตหกเหลี่ยมตัวเมียกับ
                              แผงเหล็กของเคส เพื่อยึดเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส
              หัวมะเฟือง -  สำหรับยึดน๊อตพิเศษแบบหกเหลี่ยมสำหรับอุปกรณ์
                             บางประเภทที่ทางผู้ผลิตไม่ต้องการให้ผู้ที่ไม่ใช่ช่างอาชีพมาแกะซ่อมเอง
          3. จัดเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนลงมือประกอบเครื่อง


อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ซีพียู แรม เมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์   
            การจัดเตรียมอุปกรณ์จะต้องเริ่มด้วยๆ จากกล่องเพื่อเช็คสภาพและดูว่ามีอะไรบ้าง
     ซึ่งต้องทำอย่างระมัดระวังนะคะ จากนั้นเราต้องจัดวางอุปกรณ์นั้นๆ ไว้อย่างเป็นสัดส่วน และ
     เป็นระเบียบ หยิบใช้ ได้ สะดวกรวดเร็วค่ะลองใช้วิธีที่ดิฉันจะนำเสนอ นี้ดูนะคะ...อาจช่วยให้
     คุณ ๆ ประกอบคอมพิวเตอร์ได้อย่างราบรื่นและรวดเร็วค่ะ!...
     ซีพียู - เมื่อแกะออกมาแล้วให้ตรวจดูสภาพของขาซีพียูว่ามีการหักหรือคดงอหรือไม่ จากนั้น
                  จึงตรวจดูใบรับประกันว่าถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องควรนำไปให้ทางร้านที่จำหน่าย
                   ตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง
    แรม - ตรวจดูสภาพว่ามีร่องรอยชำรุดหรือไม่ และตรวจดูระยะ เวลาสิ้นสุดการประกัน เช่น เดือน
                    ปี ค.ศ. บนสติกเกอร์รับประกันว่าถูกต้องหรือไม่
    ฮาร์ดดิสก์ - ตรวจดูสภาพว่ามีร่องรอยชำรุดหรือไม่ และตรวจดูระยะเวลาสิ้นสุดการประกัน
                     บนสติกเกอร์รับประกันที่ติดมาบนตัวฮาร์ดดิสก์ด้วย
    เมนบอร์ด - เมื่อแกะกล่องออกมาให้ครวจดูว่ามีอุปกรณ์ เช่น แผ่นซีดีไดร์วเวอร์ และสายสัญญาณต่างๆ
                      มาให้ครบถ้วนหรือไม่ จากนั้นจึงตรวจสอบดูสภาพของเมนบอร์ดว่ามีร่องรอยชำรุดหรือไม่
                     และต้องไม่ลือตรวจดูระยะเวลา  สิ้นสุดการรับประกัน บนสติกเกอร์รับประกันที่ติดอยู่ด้วย
 
    อุปกรณ์อื่นๆ - เช่น การ์ดจอ, การ์เสียง, การ์ดโมเดม และจอภาพหลังจากแกะกล่องออกมาแล้ว
                        ก็ตรวจดูเดียวกับเมนบอร์ด คือ ดูว่ามีอะไรให้มาบ้าง สภาพเป็นอย่างไรระยะเวลาสิ้นสุด
                        การรับประกัน ถูกต้องหรือไม่ 

                       

   ขั้นตอนการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์    

                หลังจากที่เราจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมแล้วเราจะเริ่มประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์
         เพื่อใช้งานกันค่ะ  เพื่อให้สามารถประกอบเครื่องอย่างราบรื่น จึงขอลำดับขั้นตอนการประกอบ อุปกรณ์
         เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ออกเป็น 12 ขั้นตอน ดังนี้ค่ะ  
   
คลิกขั้นตอนการประกอบเครื่อง  คลิกขั้นตอนการประกอบเครื่อง

        ขั้นตอนที่ 1   1. เตรียมเคสสำหรับติดตั้งเมนบอร์ด
        ขั้นตอนที่ 2  2. ติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ด
        ขั้นตอนที่ 3   3. ติดตั้งแรมเข้ากับบนเมนบอร์ด
 
        ขั้นตอนที่ 4   4. ติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส

         ขั้นตอนที่ 5
   5. ติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์
         ขั้นตอนที่ 6   6. ติดตั้งฮาร์ดิสก์

         ขั้นตอนที่ 7
   7. ติดตั้งซีดีรอม/ ดีวีดีรอม 
         ขั้นตอนที่ 8   8. ติดตั้งการ์ดจอ/ การ์ดเสียง

         ขั้นตอนที่ 9
   9. ต่อสายจ่ายไฟและสายสัญญาณเข้ากับเมนบอร์ด
         ขั้นตอนที่ 10   10. ประกอบอุปกรณ์ ภายนอกเข้ากับเข้ากับตัวเครื่อง
         ขั้นตอนที่ 11   11. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
         ขั้นตอนที่ 12   12. ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม (ถ้าจำเป็น)

                                 
             เตรียมเคสสำหรับติดตั้งเมนบอร์ด
                ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นเริ่มต้นสำหรับการประกอบเครื่อง ใช้ไขควงขันน๊อตยึดตัวเคส (Case)
        แล้วเปิดฝาข้างออกก็จะได้รูปร่างดังรูปที่เห็นข้างล่างนี้...ภายในเคสจะมีชุดน๊อตประกอบเครื่อง
        สายพาวเวอร์เครื่อง  จากนั้นให้แกะออกมาจัดเตรียมให้พร้อมแล้วเปิดแผงเหล็กกั้นด้านข้าง
        ตัวเคสออกมา เพื่อเตรียมประกอบเข้ากับเมนบอร์ด
        
ภาพการจัดเตรียมเคสเพื่อประกอบคอมพิวเตอร์
           ติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ด
                  การติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ดในปัจจุบันจะสะดวกกว่าเมื่อก่อนมาก เนื่องจากส่วนใหญ่
     จะเป็นซ็อคเก็ต (Socket) หรือที่เราใช้เรียกชื่ออย่างเป็นทางการว่า PGA (pin Grid Array)
     ซีพียูที่ใช้ช่องเสียบหรือซ็อคเก็ตแบบ PGA นั้นก็คือ ซีพียูที่มีขาทั้งตัวอยู่ใต้แผ่นเซรามิคหรือ
     แผ่นพลาสติกแบนๆ  ซึ่งมีหลายรุ่นและใช้เสียบ กับซ็อคเก็ต แบบต่างๆกัน ซ็อคเก็ตในปัจจุบัน
     จะเป็นแบบ ZIF (Zero InsertionForce)ที่เพียงแต่ง้างกระเดื่องอกทางด้านข้าง แล้วโยก
     ขึ้นมา จากนั้นก็วางซีพียูลงไป แล้วกดกระเดื่องกลับเข้าไป โดยดันกลับไปจนสุดกระเดื่องจะกลับ
     เข้าล็อคและยึดซีพียูให้อยู่กับที่  ดังนั้นเวลาติดตั้งกับซ็อคเก็ตบนเมนบอร์ดให้หันมุมที่มีรอยหยัก
     ให้ตรงกับด้านที่มีรอยหักบนเมนบอร์ดก็จะเสียบได้พอดี  แต่หากใส่ไม่เข้าอย่าฝืนดันเข้าไปนะคะ !...
     
      #...ควรถอดออกมาตรวจสอบและตรวจดูมุมหักให้ถูกต้องแล้วจึงใส่เข้าไปใหม่ค่ะ...#
              หลังจากนั้นก็ทำการติดตั้งพัดลมระบายความร้อนให้กับซีพียู หรือHeat Sink ลงบน
       ตัวซีพียูเพื่อช่วยระบายความร้อนโดยก่อนติดตั้งควรทาซิลิโคนให้เป็นฟิล์มบางๆ ลงบน Core
       ของซีพียูเสียก่อน เพื่อช่วยถ่ายเทความร้อนจากซีพียูไปสู่ตัว Heat Sink  ได้ดียิ่งขึ้น หรือถ้า
       Heat Sink  มีแผ่นช่วยระบายความร้อนติดมาให้แล้วก็สามารถใช้แทนซิลิโคน  หลังจากวาง
       Heat Sink  ลงไปบนซีพียูแล้วให้ยึดคลิปโลหะเข้าขอเกี่ยวให้เรียบร้อยเพื่อยึดให้Heat Sink
       อยู่กับที่  จากนั้นก็ต่อสายจากตัวพัดลมระบายความร้อนลงไปต่อที่ขั้วจ่ายไฟ 12 โวลต์
       บนเมนบอร์ด
     ขั้นตอนการติดตั้งฮีตซิงค์ (Heat Sink)
        1.  ทำการวางฮิตซิงค์ลงไปในบล็อกของฐานติดตั้งให้ฐานล่างของฮีตซิงค์สัมผัสกับผิวหน้า
             ของซีพียูพอดี
        2.  กดฮีตซิงค์ลงไปบนฐานรอง โดยกดให้เขี้ยวของฮีพซิงค์ล็อคเข้ากับขาของฐานรองทั้งสี่ด้าน
        3.  สับคันโยกของฮีตซิงค์ เพื่อยึดตัวฮีตซิงค์เข้ากับซีพียู ให้ระวังทิศทางของคานล็อคด้วย
        4.  เมื่อติดตั้งฮีตซิงค์เรียบร้อยแล้ว ให้เสียบสายพัดลมซีพียู เข้ากับขั้วต่อพัดลมบนเมนบอร์ด
ภาพติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ดฮีตซิงค์และพัดลมซีพียู
          ติดตั้งแรมเข้ากับบนเมนบอร์ด
                   การติดตั้งแรมเข้ากับเมนบอร์ดทำได้ไม่ยากมีหลักอยู่ว่าในช่องเสียบแรมชนิดต่างๆ
      จะมีคันล็อคอยู่ในตำแหน่งต่างกัน  เพื่อป้องกันการเสียบแรมผิดด้าน จะทำให้แรมไหม้เสีย ดังนั้น
      ก่อนเสียบแรม ทั้งแบบ SDRAM,DDRSDRAM และ RDRAM ควรตรวจดูคันล็อคว่าอยู่ด้านใด
      และใส่แรมให้ถูกด้าน
        
        โดยมีขั้นตอนดังนี้
      1.  ตรวจดูตำแหน่งของ Slot ที่จะใส่ RAM โดยสังเกตจากตัวอักษร DIMM 0,1,2 และ 3
           ที่อยู่ตรงปลายด้านหนึ่งของ Slot โดยปกติแล้วเราจะเสียบลงบน Slot ใดก็ได้แต่ควรจะ
           เริ่มต้นเสียบ RAM ตัวแรกลงใน DIMM 0 ก่อน
      2.  ให้ง้างตัวล็อคที่ปลายทั้งสองด้านของ DIMM 0ออกจากกัน
      3.  เสียบแผงหน่วยความจำ SDRAM ลงในช่องและกด RAM ลงไปเบาๆ บน Slot
           โดยให้ด้านที่มีรอยบากตรงกับบ่าที่อยู่ตรงกลาง slot
      4.  ดันตัวล็อคที่ปลายทั้งสองข้างกลับเข้าที่ให้แน่นโดยให้เดือยที่ตัวล็อคตรงกับรอยบาก
           ด้านข้างของแผงหน่วยความจำพอดีหรือโดยปกติแล้วเวลากด RAM ลงไปใน Slot ตรงๆ
           ตัวล็อคทั้งสองข้างจะดีดกลับขึ้นมาล็อคเองโดยอัตโนมัติ
ภาพการติดตั้งแรม
            ติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับตัวเคส              
                 ภายในกล่องเมนบอร์ดประกอบด้วยตัวเมนบอร์ด สายฮาร์ดดิสก์/ฟล็อปปี้ดิสก์ คู่มือเมนบอร์ด
      และแผ่นซีดีไดร์เวอร์เมนบอร์ดมาให้ด้วย ให้ตรวจดูความเรียบร้อยก่อน สิ่งที่สำคัญที่สุดในขั้นตอนนี้
      คือ เมื่อติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับแผงเคสแล้ว ให้กำหนดจัมเปอร์บนเมนบอร์ดเป็น "Normal"
      (เมนบอร์ดที่ซื้อมาทุกอันจะถูกกำหนดจัมเปอร์ไว้เป็น "Clear CMOS" เพื่อป้องกันแบตเตอรี่หมด)
      เพราะหากไม่กำหนดจัมเปอร์ให้ถูกต้อง หลังประกอบเครื่องแล้วจะบู๊ตเครื่องไม่ได้ 
      

           การติดตั้งเมนบอร์ด
  มีขั้นตอนดังนี้
         1.  แกะกล่องเมนบอร์ดตรวจดูคู่มือ และอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม
         2.  ขันแแท่นรองน๊อตเข้ากับแท่นเครื่องให้ตรงกับช่องบนเมนบอร์ด
         3.  วางทาบให้ช่องบนเมนบอร์ดตรงกับรูแท่นรองน๊อตที่ขันยึดกับแผงเคส
              โดยสังเกตให้ร่องแท่นรองน็อตตรงกับเมนบอร์ดทุกช่อง    
         4.  ขันน๊อตลงบนแท่นรองน๊อต เพื่อยึดเมนบอร์ดเข้ากับแผงเคส
         5.  ให้คีมปากจิ้งจกคีบจัมเปอร์ มาใส่ไว้ในตำแหน่ง "Normal"

การติดตั้งเมนบอร์ดเข้ากับเคส
        ติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์       
                  การติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ค่อนข้างง่ายกว่าติดตั้งอุปกรณ์อื่น เพราะมีสายที่ต้องติดตั้งเพียงสองเส้นคือ
       สายไฟและสายสัญญาณ การติดตั้งสายไฟจะมีหัวล็อกอยู่ ถ้าไม่พอดีอย่าฝืนดันเข้าไปส่วนสายสัญญาณให้
       เสียบขาที่หนึ่งให้ตรงกับฟล็อปปี้ดิสก์ มีหลักในการสังเกตคือเมื่อเสียบสายทั้งสองเส้นเข้ากับฟล็อปปี้ดิสก์แล้ว       
       สายไฟเส้นสีแดงและสายสัญญาณด้านที่มีสีแดงต้องอยู่ชิดกัน
         มีขั้นตอนดังนี้
       1.  ใส่ฟล็อปปี้ดิสก์เข้าไปในช่องติดตั้งและดันเข้าไปให้สุด
       2.  ใช้ไขควงขัดน็อตยึดฟล็อปปี้ดิสก์เข้ากับช่องเคส
       3.  เสียบสายไฟและสายสัญญาณเข้ากับไดร์วให้ถูกด้าน ฟล็อปปี้ดิสก์บางรุ่น
            เมื่อติดสายแล้วสายสีแดงของสายจ่ายไฟจะอยู่ด้านนอก กรณีนี้ให้เสียบ
            สายสัญญาณด้านสีแดงอยู่ด้านนอกด้วย โดยยึดหลักถ้าอยู่ด้านในให้ชิดกัน
            ถ้าอยู่ด้านนอกให้ตรงข้ามกัน
       4.  เสียบปลายสายสัญญาณอีกด้านเข้ากับช่องเสียบเมนบอร์ดโดยให้ด้าน
            ที่มีสีแดงตรงกับขาหนึ่งบนเมนบอร์ด (มีเลขกำกับไว้)
ภาพการติดตั้งฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์
        ติดตั้งฮาร์ดิสก์           
               ก่อนการติดฮาร์ดดิสก์เข้าเครื่องให้กำหนดจับเปอร์ฮาร์ดดิสก์ก่อนโดยถ้าฮาร์ดดิสก์ลูกแรกสำหรับ      
       ติดตั้งและบู๊ตระบบต้องกำหนดให้เป็น Master อย่างเดียว สำหรับฮาร์ดดิสก์ ลูกที่สองที่ติดตั้งบนสาย
       เดียวกันกำหนดเป็น slave และให้ติดตั้งสายสองเส้นเช่นเดียวกับฟล็อปปี้ดิสก์คือสายจ่ายไฟและสาย
       สัญญาณเสียบให้ถูกด้านโดยสายจ่ายไฟจะมีรอบหักมุมบนส่วนสายสัญญาณให้สังเกตขาหนึ่งเป็นหลัก
       โดยจะมี  ตัวเลขกำกับไว้ที่ท้ายไดรว์ส่วนตัวสายขาหนึ่งจะมีสีแดง
           
       โดยมีขั้นตอนดังนี้
       1.  กำหนดจัมเปอร์ฮาร์ดดิสก์ไว้ที่ตำแหน่ง master เพื่อบู๊ตเครื่อง
       2.  ใส่ฮาร์ดดิสก์เข้าไปในช่องใส่ไดร์วในเคสโดยดันไปให้สุดและขยับให้
            ช่องขันน็อตของตัวไดร์วตรงกับรูยึดด้านข้างของตัวเคส
       3.  ขันน็อตยึดฮาร์ดดิสก์เข้ากับผลังยึดตัวเคสทั้งสองด้าน
       4.  เสียบสายจ่ายไฟและสายสัญญาณเข้าที่ท้ายฮาร์ดดิสก์ โดยให้สายจ่ายไฟ
            ด้านที่มีรอยหักมุมอยู่บน ส่วนสายสัญญาณให้ด้านที่มีเส้นสีแดงอยู่ชิดกับสาย
            จ่ายไฟ  (สายสัญญาณสีแดงชิดกับสายจ่ายไฟสีแดง)
       5.  นำปลายอีกด้านของสายสัญญาณเสียบเข้ากับช่องต่อบนเมนบอร์ด
            โดยให้เส้นสีแดงอยู่ตรงกับขาหนึ่งบนเมนบอร์ด ซึ่งจะมีตัวเลขกำกับอยู่
            ติดตั้งซีดีรอม/ ดีวีดีรอม
                การติดตั้งซีดีรอมหรือดีวีดีรอม :  
                      มีหลักการคือให้กำหนดจัมเปอร์ที่ด้านหลังตัวไดรว์ก่อน เพื่อใช้สายเส้นเดียว
       กับฮาร์ดดิสก์ หรือจะใช้สาย IDE อีกเส้นหนึ่งก็ได้  หากใช้สายสัญญาณเส้นเดียวกับ
       ฮาร์ดดิสก์ ให้กำหนดเป็น slave เพื่อใช้สายเส้นเดียวกับฮาร์ดดิสก์ หรือจะใช้สาย IDE
       อีกเส้นหนึ่งก็ได้
      1. กำหนดจัมเปอร์ด้านหลังไดร์วให้เป็น slave เพื่อใช้สายเส้นเดียวกับฮาร์ดดิสก์
          หรือจะใช้สาย IDE อีกเส้นหนึ่งก็ได้
      2. เพื่อใช้สายเส้นเดียวกับฮาร์ดดิสก์ หรือจะใช้สาย IDE อีกเส้นหนึ่งก็ได้    
      3. ขันยึดน็อตเพื่อยึดไดร์วเข้ากับตัวเคสให้แน่นทั้งสองด้าน
      4. เสียบสายจ่ายไฟและสายสัญญาณเข้าท้ายไดฟ์โดยใช้ หลักการเดียวกับฮาร์ดดิสก์
          คือจ่ายสายไฟด้านที่มีรอยหักอยู่บน ส่วนสายสัญญาณให้เส้นที่หนึ่ง (สีแดง)
           อยู่ชิดกับสายจ่ายไฟ (แดงชนแดง) จากนั้นนำสายสัญญาณเสียงเสียบเข้าท้าย
          ไดร์วให้สุด
      5. นำปลายอีกข้างของสายสัญญาณไปเสียบบนเมนบอร์ดให้ด้านที่ มีสีแดง อยู่ตรงกับ
          ขาหนึ่งบนเมนบอร์ด
ภาพการติดตั้งซีดีรอมหรือดีวีดีรอม
            ติดตั้งการ์ดจอและการ์ดเสียงเข้ากับเมนบอร์ด
              การติดตั้งการ์ดจอ 
            ขั้นนี้ต้องติดตั้งอุปกรณ์ลงบนเมนบอร์ดและยึดกับตัวเคสด้วยจึงต้องประกอบเมนบอร์ด
      พร้อมฝาข้างกับเข้าตัวเคสก่อนแล้วจึงเสียบการ์ดต่างๆ ลงบนเมนบอร์ดได้  ดังนี้
      1. นำเมนบอร์ดพร้อมแผงรองเกี่ยวเข้ากับตัวเคสเพื่อเตรียมปิดเข้าที่เดิม
      2. ขันน๊อต หรือยึดสลักปิดฝาข้างเคสให้แน่น โดยตรวจสอบดูว่าได้เก็บสายสัญญาณต่างๆ
          เรียบร้อยหรือยัง
      3. นำการ์ดจอไปเสียบเข้ากับ slot บนเมนบอร์ด โดยดันลงไปตรงๆให้แน่น แล้วจึงขันน็อตไว้
          โดยยึดเข้ากับตัวเคส
             การติดตั้งการ์ดเสียง 
                 มีวิธีการเหมือนกับการติดตั้งการ์ดจอ โดยมองหาสล๊อต PCI ซึ่งเป็นสล๊อต
      ที่มีมากที่สุดในเครื่อง เสียบตัวการ์ดลงไปให้แน่นใช้น๊อตยึดเข้ากับเคส มีขั้นตอนพิเศษ
      คือให้เสียบสายสัญญาณเสียงที่ต่อกับท้ายได้ฟ์ซีดีรอม/ดีวีดีรอมเข้ากับขั้วต่อบนการ์ดเสียง
      โดยมีขั้นตอนดังนี้
       1. เตรียมการ์ดเสียงและมองหาสล๊อตแบบ PCI บนเมนบอร์ด
       2. นำการ์ดเสียงเสียบเข้ากับสล๊อดแบบ PCIบนเมนบอร์ดให้แน่นโดยการขันน๊อต
          เข้ากับท้ายเคสให้แน่น
       3. นำสายสัญญาณอีกข้างหนึ่งมาเสียบกับขั้วรับ CD-IN บนการ์ดเสียงโดยเสียบด้านใด
           ก็ได้เนื่องจากเป็นแค่ช่องเสียงเท่านั้น
ภาพการติดตั้งการ์ดจอและการ์ดเสียง
           ต่อสายจ่ายไฟและสายสัญญาณเข้ากับเมนบอร์ด
                 ขั้นตอนนี้เป็นการติดตั้งสายชนิดต่างๆ ที่อยู่ภายในตัวเคสเข้ากับเมนบอร์ดเพื่อให้
       เครื่องทำงานได้ ซึ่งได้แก่ สายจ่ายไฟให้กับเมนบอร์ด, สาย Power LED , สาย Power
       Switch , สาย HDD LED , สาย Reset และสาย  Speaker ซึ่งเป็นสายหลักที่จะต้อง
       มีในทุกเครื่อง  สายไฟหรือสายสัญญาณต่างๆ  ที่จะต้องต่อภายในเครื่องจากเมนบอร์ดมายังปุ่ม
       และไฟที่อยู่หน้าเครื่อง และลำโพงภายในตัวเครื่อง  ซึ่งจำเป็นมากเพราะเสียงสามารถเป็นตัวบอก
       ให้ทราบว่าส่วนใดมีปัญหา การเชื่อมต่อสายหน้าเครื่องเข้ากับเมนบอร์ด ขั้วสำหรับต่อสายต่างๆ
       เข้ากับหน้าเครื่องได้แก่ สวิทช์ปิด-เปิดเครื่อง , ไฟสถานะการเปิดเครื่อง , ปุ่ม RESET, ลำโพง ,
       ไฟสถานะฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
          โดยมีขั้นตอนคือ 
            ต่อสายจ่ายไฟเลี้ยงเมนบอร์ด 
       1.  มองหาช่องรับไฟเลี้ยงบนเมนบอร์ดซึ่งเป็นขั้วสีขาวมีจำนวน 20 ช่อง เมื่อพบแล้วให้เตียม
           จัดขั้วจ่ายไฟเลี้ยงจากตัวเคสไว้
       2.  นำสายจ่ายไฟเลี้ยงจากตัวเคสไปเสียบกับช่องรับไฟ เลี้ยงสีขาวบนเมนบอร์ดให้ด้านที่มี
            หัวล็อคตรงกัน    
       3.  หลังจากนั้นให้เสียบสายจ่ายไฟลงไปบนช่องรับไฟเมนบอร์ดให้แน่น
           สายสัญญาณเครื่อง
       1.  ตรวจดูสาย Pin สำหรับเสียบสายสัญญาณบนเมนบอร์ดเปรียบเทียบกับภาพในคู่มือเมนบอร์ด
           เพื่อให้ขาสัญญาณสำหรับสายชนิดต่างๆ
       2.  เมื่อทราบตำแหน่งที่ตั้งขาเสียบสายสัญญาณแล้วให้นำสายสัญญาณภายในเคสไปเสียบเข้ากับ
            ขาเสียบบนเมนบอร์ด
      
เสียบสายไฟและสายสัญญาณให้ตรงกัน
    หลังจากเสียบสายสัญญาณทุกเส้นแล้วให้นำฝาเคสมาปิดให้เรียบร้อย   
ก็จะได้ คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่  
ที่ประกอบไว้พร้อมสำหรับการติดตั้งระบบต่อไป
          ประกอบอุปกรณ์ภายนอกเข้ากับเข้ากับตัวเครื่อง
                อุปกรณ์ภายนอกที่เป็นพื้นฐานสำหรับการใช้งานเครื่อง ได้แก่ การติดตั้งสายสัญญาณ
       จอภาพลำโพง สายจ่ายไฟ   คีย์บอร์ดและเมาส์เข้ากับเครื่อง

         ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
      1.  เสียบหัวต่อคีย์บอร์ดเข้ากับช่องเสียบบนเครื่อง ซึ่งช่องเสียบจะเป็นสีม่วงให้หันรอบบากให้ตรงกับ
           ร่องล็อคของช่องเสียบ       
      2.  เสียบหัวต่อเมาส์ท้ายเครื่อง ซึ่งจะเป็นสีเขียวอ่อน ให้หันรอบบากให้ตรงกับร่องของช่องเสียบ
      3.  นำหัวต่อสัญญาณจอภาพ มาเทียบกับขั้วต่อจอภาพท้ายเคส ให้ด้านใหญ่-เล็กตรงกัน
           แล้วเสียบให้แน่นพร้อมกับขันเกลียวด้วยน็อตที่อยู่ท้ายหัวต่อจอภาพ
      4.  เสียบสายแจ็คลำโพงเข้ากับช่อง Speaker ท้ายเคส
      5.  เสียบสายจ่ายไฟเลี้ยงจอภาพที่ท้ายเคส (อยู่ด้านหลัง Power Supply) ซึ่งเป็นช่องจ่ายไฟ
      6.  จากนั้นจึงนำสายจ่ายไฟเสียบเข้ากับไฟบ้านที่ท้ายเคส ซึ่งมักมีตัวอักษรกำกับไว้ เช่น AC230V
       
การเสียบสายสัญญาณกับอุปกรณ์ภายนอก
         ตรวจสอบการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
              ก่อนที่จะทดลองเปิดเครื่องครั้งแรก ควรจะตรวจสอบความเรียบร้อยเครื่อง
      เสียก่อนเพื่อลดปัญหาที่อาจร้ายแรงถึงขั้นทำให้อุปกรณ์เสียหายได้ โดยการดูด้วย
      ตาเปล่า ดังนี้   
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบเสร็จแล้ว
            ตรวจสอบทั่วไป   
      1.  ตรวจสอบการติดตั้งซีพียู ชุดระบายความร้อน และแรมว่าแน่นหนาเข้าล็อค
           ดีแล้วหรือไม่ แรมต้องไม่เอียงและต้องให้แน่นสนิทไม่มีร่องใดๆ
      2.  ตรวจสอบเมนบอร์ดว่าไม่มีส่วนใดแนบชิดกับตัวเครื่อง ซึ่งเป็นสื่อที่
           อาจจะทำให้เกิดการลัดวงจรได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาและสกรูสำหรับ
           ยึดเมนบอร์ด ระวังอย่างให้ส่วนอื่นของเมนบอร์ดไปติดกับขานี้โดยตรง
      3.  ตรวจสอบสายไฟทั้งหมดว่าถูกต้องแน่นหนา ไม่สลับขั้วกัน
      4.  ตรวจสอบสายสัญญาณทั้งหมด เช่น สายแพหรือสายสัญญาณสำหรับ
           ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปปี้ดิสก์ และซีดีรอมไดร์ว สายไฟและสายสัญญาณที่ต่อ
           ไปยังหน้าเครื่องไม่ให้เหลื่อมโดยเด็ดขาด เพราะถ้าไม่ถูกต้องจะทำให้ปุ่ม
           เปิดเครื่อง หรือไฟแสดงสถานะทำงานผิดพลาด
      5.  ตรวจสอบการ์ดต่างๆ ว่าเสียบแน่นสนิทดีหรือไม่    
             ปัญหาและแนวทางการแก้ไข
อาการ
สาเหตุที่เป็นไปได้
แนวทางการแก้ไข
  - ทุกอย่างเงียบไม่มีทั้งไฟ
     และเสียง
 - ไฟเลี้ยงไม่เข้า - ตรวจสอบปลั๊ก , สวิทช์ , สายต่อเมนบอร์ด
  - ไฟไม่เข้าแต่มีเสียงปิ๊บๆ
  - หลายๆ เสียง
 - RAM และการ์ดจอไม่ถูกต้อง - ตรวจสอบ RAM และการ์ดจอว่าแน่น หรือไม่
  - จอไม่แสดงผลและมีเสียง
     ปิ๊บเดียว หรือสองปิ๊บ
 - ไฟไม่เข้าจอ - ตรวจดูสายไฟ และสวิทช
  - ทุกอย่างปกติแต่
  - ไฟฮาร์ดดิสก์ไม่ติด
 - สายสัญญาณไม่ถูก - ตรวจสอบว่าเสียบสายถูกต้องหรือไม่ ,
   กลับขั้วกันหรือไม่
 
      ติดตั้งอุปกรณ์เพิ่ม (ถ้าจำเป็น)   
             นอกจากอุปกรณ์มาตรฐานแล้ว อาจมีอุปกรณ์อื่นๆอีกมากมายที่สามารถติดตั้งเพิ่มเติมเข้าไปได้อีก
     ทั้งแบบติดตั้งภายในตัวเครื่อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ตัวที่สอง และไดร์วต่างๆและแบบที่ติดตั้งเข้ากับพอร์ตต่างๆ
    เช่น พริ้นเตอร์, (Printer),สแกนเนอร์, โมเด็ม (External), Access Point,USB Flash Drive,
    กล้องดิจิตอล และกล้องถ่ายวิดีโอดิจิตอล เป็นต้น  ซึ่งอาจจะมีรายละเอียดและวิธีการกำหนดให้ใช้งาน
    ที่แตกต่างกันไป

อุปกรณ์ที่สามารถติดตั้งเพิ่มเติม
       ปัจจุบันพอร์ต USB ได้กลายมาเป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่อพีซีกับอุปกรณ์ต่างๆ
    ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแทนพอร์ตอุปกรณ์ความเร็วต่ำแบบต่างๆที่ใช้กันอยู่เดิม
    ไม่ว่าจะเป็นพอร์ตอนุกรม,พอร์ตขนานและพอร์ต PS/2 สำหรับเมาส์และคีย์บอร์ด  ตลอดจถึงพอร์ตเกม
    และอื่นๆโดยจะมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับความเร็วของอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ  ที่นับวัน
    จะเร็วขึ้นทุกทีจนเกินกว่าพอร์ตแบบเดิมจะรับไหว 
          อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ในปัจจุบันส่วนใหญ่มักถูกออกแบบมาให้เชื่อมต่อกับพีซีผ่านทางพอร์ต
    USB เช่น พริ้นเตอร์, (Printer), สแกนเนอร์, อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบพกพา (Flash Drive)
    และอื่นๆ โดยเชื่อมผ่านทางสาย USB เครื่องคอมพิวเตอร์จะสามารถตรวจสอบได้โดยอัตโนมัติว่า 
    อุปกรณ์นั้นคืออะไร และปรับตั้งคอยฟิกูเรชั่น หรือทรัพยากรต่างๆ  เพื่อให้ใช้งานอุปกรณ์ดังกล่าวได้
    ทันที ซึ่งเราเรียกว่าควสามารถในการทำงานแบบ Plug and Play นั่นเอง