วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เครื่องมือซ่อมแซมบ้าน

เทคนิคซ่อมบ้าน..ที่แม่บ้านก็ทำได้


การซ่อมผนังฉาบปูนที่แตกร้าว

ผนังฉาบปูนที่แตกร้าว มักเกิดขึ้นภายหลังการก่อสร้างเสมอ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากคานไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ซึ่งทำให้คานหย่อนลงมา แล้วกดผนังก่ออิฐให้แตกร้าว , อาจเกิดจากส่วนผสมของปูนไม่สม่ำเสมอ , ปูนฉาบหนาไม่พอ , วัสดุก่อสร้างเสื่อมคุณภาพ หรือการปล่อยให้ปูนสูญเสียน้ำหลังจากการฉาบ เป็นต้น วิธีแก้ไขทำได้โดย

1. ให้สกัดผิวที่ร้าวกว้างอย่างน้อย 1/2 นิ้ว โดยให้ลึกถึงผิวอิฐ
2. หลังจากนั้นทำความสะอาดรอยสกัด แล้วราดน้ำให้ชุ่ม
3. ฉาบปูนทราย แล้วแต่งผิวให้เรียบ หากผนังมีน้ำซึมควรใช้วัสดุกันซึม เช่น น้ำยาอีพ็อกซี เป็นต้น
4. ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วทำการทาสีเพื่อปกปิดรอยซ่อม


การซ่อมพื้นคอนกรีตที่แตกร้าว

มักพบอยู่เสมอ สำหรับบ้านพักอาศัย หรือสำนักงานที่เทพื้นคอนกรีต ลักษณะการแตกคือ จะเป็นเส้นเล็กๆ คล้ายตาข่ายแบบสังคโลก ลักษณะเช่นนี้ไม่ทำให้พื้นเสียกำลังแต่จะทำให้ความสวยงามลดลง ส่วนรอย ร้าวที่ลึกลงไปจากผิวมากนั้น ควรให้ความสนใจอย่างมากว่าเกี่ยวข้องกับการส่วนโครงสร้างที่รับกำลังหรือไม่ เพราะจะ ทำให้เกิดการยุบพังลงได้ รอยแตกที่ไม่เกี่ยวข้องกับส่วนที่เป็นโครงสร้างของอาคารนั้น เราสามารถซ่อมแซมกันเองได้


1. ให้สกัดตามรอยร้าวลึกเข้าไปจากรอยเส้นประมาณ 1-2 นิ้ว
2. จากนั้นปัดฝุ่นที่สกัดออกให้หมด แล้วราดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งผิวให้แห้ง
3. ผสมปูนทราย อัตราส่วน 1 ต่อ 2 โดย ปูน 1 ส่วน ทราย 2 ส่วนให้เข้ากันทิ้งไว้ให้หมาด
4. ฉาบปูนที่รอยแตก แต่ถ้ารอยแตกเป็นเส้นให้ใช้ปูนทราย
5. สุดท้ายแต่งผิวให้เรียบ ทิ้งไว้ให้แห้ง

การซ่อมกระเบื้องห้องน้ำ
โดยทั่วไปผนังห้องน้ำที่ปูด้วยกระเบื้องเคลือบ ไม่ว่าเก่าหรือใหม่ อาจเกิดการหลุดร่อนได้ ซึ่งอาจเกิดจากการปะกระเบื้องไว้ไม่ แน่นพอ หรืออาจเกิดมีการกระทุ้งผนังด้านในหรือนอก ทำให้กระเบื้องหลุดออกมาได้ การซ่อมแซมค่อนนั้นข้างจะยากเพราะ งานปูกระเบื้องต้องใช้ช่างผู้ชำนาญ แต่สำหรับปัญหาเล็กน้อยเช่น กระเบื้องหลุด 1-2 แผ่น เราก็พอจะสามารถทำเองได้

วิธีการซ่อมกระเบื้องห้องน้ำคือ

1. เตรียมผิวที่แตกโดยการนำสกัดปากแบน ค่อยๆสกัดให้ปูนเก่าออกให้หมดโดยรอบ ควรระวังไม่ให้กระเบื้องแผ่น อื่นหลุดออกมาอีก
2. จากนั้นทำความสะอาดผิว แล้วพรมน้ำให้ชุ่มทิ้งใว้หมาด
3. นำปูนทรายอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ปาดใส่ส่วนที่สกัด
4. นำกระเบื้องที่ได้ทำการเลือกให้เข้ากับลวดลายหรือสีเดิมมาแปะลงไป ( แต่ก่อนทำการแปะควรแช่น้ำไว้ประมาณ 1 ชั่ว โมงก่อน )

การซ่อมพื้นปาเก้โมเสดไม้

ส่วนใหญ่เมื่อเกิดน้ำท่วมขึ้น จะทำให้ปาเก้หลุดร่อนเกิดความเสียหาย บางครั้งอาจจะหลุดร่อนทั้งพื้น หากเกิดเหตุการณ์เช่น นั้นควรให้ช่างมาตีราคาเพื่อซ่อม ไม่ควรคิดจะซ่อมเอง แต่หากเกิดการหลุดร่อนแค่ไม่กี่ชิ้นเราก็พอจะซ่อมแซมเองได้

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ปาเก้หลุดร่อนมีดังนี้

1. เนื่องจากติดกาวไม่อยู่ หรือไม่ค่อยแน่น คือ เรียบขัดก่อนกาวแห้ง หรือทากาวไม่สม่ำเสมอ
2. มีน้ำขังบนพื้น เป็นเวลานานทำให้ไม้พองตัวโก่งตัวขึ้นมา
3. ปลวกกินไม้ ทำให้ไม้เป็นแอ่ง ไม่เรียบ หรือเป็นรอย ไม่สวยงาม

วิธีการซ่อมแซม ให้ทำดังนี้

1. ให้สำรวจว่าใช้ปาเก้ไม้ชนิดใด เช่น ไม้แดง ไม้สัก ไม้มะค่า หรือไม้เนื้อแข็งธรรมดา จัดซื้อใหม่ตามร้านรับปูปาเก้
2. เตรียมชิ้นไม้ให้แห้ง ซื้อกาวลาเท็กซ์หรือหากาวติดไม้มาใช้
3. เตรียมพื้นสำหรับการติดกาว โดยใช้สกัดปากแบนหรือไขควงเก่าๆ ขูดเอาเศษกาวเก่าออกให้หมดปัดฝุ่นให้สะอาด
4. ทากาวลาเท็กซ์ที่เตรียมไว้ป้ายให้หนาประมาณ 1-2 มิลลิเมตร นำชิ้นไม้ที่หลุดมานั้นสอดไว้ที่เดิม ค่อยๆ กด และ เคาะเบาๆ โดยต้องรักษาระดับผิวของไม้ให้เท่าเดิม
5. จากนั้นทิ้งไว้ให้กาวแห้งสนิท อย่างน้อย 15 วัน
6. นำกระดาษทรายเบอร์ 0 ที่ละเอียดมาขัดตามรอยต่อ ให้ชิ้นไม้เสมอกัน นำน้ำมันวานิชผสมทินเนอร์ทาบาง ๆ 2-3 ครั้งจนกระทั่งได้ระดับแล้วขัดด้วยกระดาษทรายอีกครั้งจบเรียบ
7. นำดินสอพองผสานแชลแลคตามสีที่ย้อมให้เหมือนกับของเดิม อุดเสี้ยนพอแห้งแล้วขัดกระดาษทรายอีกครั้ง ทาแชลแลคสีเดิม ย้อมผิวก่อน เอากระดาษทรายลูบแล้วจึงผสมน้ำมันเคลือบผิวไม้กับทินเนอร์ให้ใส ..เป็นอันเสร็จ

การซ่อมผิวเฟอร์นิเจอร์ด้วยเลคเกอร์

สำหรับผู้ที่มีเฟอร์นิเจอร์เก่า แล้วมีความสนใจที่ซ่อมแซมให้ดูใหม่ เช่นอยากให้ความเงางามเช่นเดิมแก่โต๊ะ เก้าอี้ จะต้องเตรียมอุปกรณ์ ดังนี้ เลคเกอร์ โดยประมาณจำนวนโดยคิดเทียบจาก เก้าอี้ 5 ตัวและโต๊ะอาคาร 1 ตัวใช้เลคเคอร์ประมาณ 1/2 แกลลอน ทินเนอร์ 1 แกลลอน กระดาษทรายเบอร์ 0 ประมาณ 12 แผ่น แปรงขนกระต่ายหรือแปรงทาแชลแลคสัก 2-3 อัน ชาม โลหะเคลือบสัก 2 ใบ หลังจากเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้วเริ่มซ่อมดังนี้

1. ให้ขัดกระดาษทรายให้ผิวเดิมหลุดออกให้มากที่สุด เพราะถ้าทาทับลงไปจะทำให้ผิวไม้ด่างแก้ไขยาก
2. แล้วผสมเลคเคอร์ลงในชามเคลือบอย่าให้ข้นมาก ทาลงไปก่อน 1 เที่ยว
3. ทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 30 นาที แล้วลูบดูหากผิวขรุขระหรือหยาบอยู่ให้ใช้กระดาษทรายขัดอีกาครั้งจนผิวเรียบ
4. ทาเลคเคอร์เป็นครั้งที่ 2 ทิ้งไว้ให้แห้ง
5. ทาเลคเคอร์เป็นครั้งที่ 3 บริเวณที่ต้องการให้ผิวมันเป็นพิเศษทิ้งไว้ให้แห้ง

การติดต่องานเพื่อสร้างอาคาร

ขั้นตอนการติดต่องานเพื่อสร้างอาคารมีขั้นตอนดังนี้

1. ให้ทำการตรวจสอบขนาดของที่ดินที่มีให้ตรงตามโฉนด โดยการวัดเทปและทดลองคำนวณดูว่า มีจำนวนว่ามีพื้นที่ตรงตาม ในโฉนด โดยคิดจาก 1 ไร่ มี 100 ตารางวา หรือ 1 ไร่มี 1,600 ตารางเมตร และ 1 ไร่มี 4 งาน หากไม่ตรงตามโฉนดให้แจ้ง สำนักงานที่ดินมาทำการรังวัดใหม่ให้ถูกต้อง

2. ติดต่อสถาปนิก เพื่อทำการออกแบบ ท่านจะต้องให้รายละเอียดสิ่งที่ท่านต้องการแก่สถาปนิกได้ทราบ เช่น
2.1 กำหนดงบประมาณในการก่อสร้าง
2.2 กำหนดความต้องการที่สร้าง ห้องนอนกี่ห้อง ห้องน้ำกี่ห้อง พื้นที่ใช้สอยเท่าใด ทำเป็นกี่ชั้น ต้องการ ลักษณะของความสวยงามอย่างไร ใช้วัสดุก่อสร้างแบบใด ซึ่งรายละเอียดดังกล่าวจะเป็นข้อมูลในให้ผู้ออกแบบ ออกแบบได้ตรงความต้องการและมีพื้นที่ใช้สอยมากที่สุด ด้วยหลักการที่ กูกต้อง ร่วมทั้งร่วมงานกับวิศวกร เพื่อคำนวณออกแบบโครงสร้างต่อไป
3. สถาปนิก หรือผู้ออกแบบร่างแบบให้ดู และอธิบาย พร้อมรูป Perspective หรืออาจทำหุ่นจำลองให้เจ้าของบ้านได้ดูเพื่อตัดสินใจจะแก้ไขหรือ เพื่อเติมอย่างใด
4. เมื่อออกแบบเสร็จ ผู้ออกแบบก็จะประมาณราคาซึ่งจะใกล้เคียงกับงบประมาณที่เจ้าของบ้านเคยกำหนด
5. เจ้าของนำแบบก่อสร้างไปมอบให้ผู้รับเหมาทำการคิดราคาก่อสร้าง อาจทำการเปิดประมูลเพื่อให้ได้ราคาที่ถูกที่สุด โดยอาจต้องไปดูผลงานในอดีตของผู้รับเหมา เพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการเลือกผู้รับเหมา
6. เมื่อตกลงราคากับผู้รับเหมาเรียบร้อยตกลงทำสัญญาก่อสร้าง แล้วให้ผู้รับเหมาเสนอขออนุญาตปลูกสร้างอาคารที่ที่ว่าการกรุงเทพมหา นคร หรือสำนักงานเขต หรือที่ศาลากลางจังหวัด ตามแล้วว่าจะปลูกสร้างที่ไหน เพื่อตรวจให้ถูกต้องตามเทศบัญญัติงานที่วิศวกรรับรองแบบ หรืออาจยื่นด้วยตนเองก็ได้ แต่ให้ดีควรโทรไปที่ฝ่ายโยธาก่อนเพื่อสอบถามว่าต้องเอาหลักฐานอะไรไปบ้าง เพื่อไม่ให้เสียเวลา
7. เมื่ออนุญาตจึงจะลงมือก่อสร้างได้ ระหว่างสร้างต้องแสดงแบบและใบอนุญาตแก่ฝ่ายตรวจของที่ว่าการกรุงเทพ มหานคร ถ้าเป็นต่างจังหวัด สำหรับอำเภอเมือง เสนอต่อโยธาจังหวัด เพื่ออนุญาตต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น