วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2555

จัดเก็บของใช้ให้เป็นระเบียบ

ห้องเก็บของ

  • ห้องเก็บของ
ความจำเป็นต่อการตัดสินใจตกแต่ง และ ออกแบบภายใน บ้านนั้น จะต้อง กำหนดพื้นที่ใช้สอย ในแต่ละห้องว่า ตำแหน่งใด จะเป็นที่จัดวาง และจัดเก็บของได้ และเอื้ออำนวย ต่อ การใช้พื้นที่ ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด นับตั้งแต่ เนื้อที่ทุกตารางเมตร ที่ให้การจัดวางอย่างมีหลักเกณฑ์ตายตัว แน่นอนเช่น ใต้บันได, ใต้เตียง และบริเวณที่เป็นแแง่มุม หรือ กล่อง หรือตู้ที่แยกส่วนประกอบ และประกอบเข้าด้วยกัน ใน ระบบโมดูล่า ตาม ความเหมาะสมของเนื้อที่ ที่จัดวาง ให้สิ่งของเข้าที่ อย่างมีระเบียบ
ประเภทการจัดวาง มี 2 ประเภท
การจัดวางชั้นโชว์และวางของใช้
วิธีนี้จะต้องคำนึงถึง ประเภทของ ของที่วาง ให้สามารถมองเห็นได้ง่าย เรียกว่า มองเห็นของโชว์ และของใช้ก็ได้ในขณะเดียวกัน เช่น ตู้มีลิ้นชักไว้เก็บของ พร้อมทั้ง วางของโชว์ ของที่ใช้สอยได้ในเวลาจำเป็น อาจจะวางโทรศัพท์ วางกล่องเย็บปักถักร้อย เป็นต้น
การจัดเก็บรักษาอุปกรณ์เครื่องมือ-เครื่องใช้
ชั้นวางของการเก็บของบางอย่างต้องเก็บรักษา ให้ปลอดภัยไว้ก่อน ที่จะเกิดอันตรายขึ้น แก่คนและสัตว์ และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย ที่สามารถหยิบฉววยใช้งานได้สะดวกในทันใด
การจัดวางและติดตั้งอุปกรณ์พิเศษต่าง ๆ ในแต่ละห้องจะมีการออกแบบ ในแนวศิลปะที่สามารถจินตนาการได้ ในรูปแบบของตัวเองมากน้อยแค่ไหน จำแนกได้ดังนี้
การติดตั้งชั้นวางของ
กล่าวโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ชั้นวางของเป็นสิ่งที่สามารถติดตั้งได้ในรูปแบบต่าง ๆ ตามความต้องการอันเหมาะสมของผู้ใช้สอย ตั้งแต่การทำชั้นติดผนัง บริเวณช่องว่างเหนือศรีษะ และบริเวณอื่น ๆ ที่มีที่ว่างพอเพียง
หลักการพิจารณา ติดตั้งชั้นวางของ ในบริเวณที่มีเนือที่จำกัดอาจใช้ วิธีการติดตั้งแบบ Built-in คือ การติดตั้งกับผนัง จะเหมาะสมกว่า การวางบนพื้นแบบอิสระ
ชั้นแบบกล่องแยกชิ้นได้ระบบโมดูลาชั้นแบบกล่องแยกชิ้นได้ระบบโมดูลา
การใช้ประโยชน์บริเวณเนื้อที่ ที่อยู่ใต้บันได หรือห้องทำงานก็สามารถ เลือกใช้ อุปกรณ์เก็บของ ที่มีลักษณะเป้นกล่อง หรือเป็นบล็อค ๆ ที่สามารถแยกออกจากกันได้ ซึ่งเรียกว่า " คิวคิท " หรือ " ลูกบาศก์ " จะมีขนาดกว้างยาวประมาณ 15 นิ้ว
ช่องเก็บของแบบนี้ สะดวกต่อการติดตั้ง และสามารถติดตั้งได้ ตั้งแต่พื้นจรดเพดาน หรือแม้แต่ช่องว่างใต้บันไดก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้นยังมีประโยชน์อื่น ๆ อีก เช่น เป็น ฉนวนกันความร้อน หรือกันเสียงรบกวนได้อีกด้วย
ห้องเก็บของใต้บันไดคุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่งคือ สามารถเคลื่อนย้ายได้ตามความเหมาะสม จะสังเกตได้ว่า การใช้เก็บของแบบนี้ จะมีเนื้อที่ใช้สอยประโยชน์ได้แทบทุกด้านของกล่อง
นอกจากนั้น เราสามารถใช้ หลักการเดียวกันนี้กับวัสดุอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น วางหนังสือ ตะกร้าสาน หรือใช้เก็บของพวกของเล่นใน ห้องนอน และอื่น ๆ อีกมากมาย.
ห้องเก็บของใต้บันได
ใต้บันไดก็เป็นพื้นที่ใช้สอยประโยชน์ได้ดี ในการเก็บของ กระจุกกระจิก แต่ถ้าหากว่าจัดให้ดี ๆ ก็สามารถทำ ที่เก็บกระเป๋า และเสื้อผ้า หรือถ้าหากว่าเรามีเนื้อที่เก็บของ สำหรับพวกนี้ พอเพียงแล้ว พื้นที่บริเวณนี้ไม่ควรปล่อยว่างไว้เฉย ๆ เราสามารถทำเป็นที่เก็บของอื่น ๆ ได้ เช่น ถังแก็ส, ติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า หรือเก็บเตารีด ที่รองรีด, ชั้นวางรองเท้า อุปกรณ์ทำความสะอาด หรือกระทั่งอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในบ้าน หรืออะไรอีกจิ


Read more: http://www.novabizz.com/CDC/Storage.htm#ixzz1ns9O9hX7

จัดเก็บเครื่องมือช่าง


CN-A3 ตะแกรงใส่อะไหล่ ยี่ห้อ PAREO รุ่น A 3 ขนาด ก.600 x ย.800 x ส.650 ม.ม

รายละเอียดทั้งหมด :
  • รุ่น A 3  ขนาด ก.600 x ย.800 x ส.650  ม.ม
  • น้ำหนักบรรทุก 600 kg.
  • Wire Ø : 6 mm.
  • รุ่น A 5  ขนาด ก.800 x ย.1000 x ส.850  ม.ม
  • น้ำหนักบรรทุก 800 kg.
  • Wire Ø : 6 mm.
  •  รุ่น A 7  ขนาด ก.1000 x ย.1200 x ส.900  ม.ม
  • น้ำหนักบรรทุก 1,000 kg.
  • Wire Ø : 6 mm.

การทําบัวลอย



บัวลอยน้ำกะทิสูตรโบราณ(สูตรคุณ อุ๋ม..)

วันนี้เอาสูตรประจำบ้านมาบอกต่อก่อนนะคะ รูปวิธีการทำไว้จะเอามาลงให้ค่ะพอดีตอนนี้อุ๋มลดความอ้วนอยู่อ่ะ เดี๋ยวทำแล้วอดใจไม่ไหวอีก..
ที่ว่าสูตรโบราณเพราะว่าสูตรนี้คุณแม่มักจะทำตอนที่ท่านยังอยู่และยังบอกว่าเอามาจากคุณยาย วิธีดั้งเดิมแต่โบราณนั้นแป้งบัวลอยต้องต้มในกะทิจนบวมลอยขึ้นมาเหนือน้ำ ต้มแล้วกะทิข้นได้ที่ ไม่ใช่ต้มในน้ำแล้วตักมาให้จมในน้ำกะทิอย่างที่ทำกันในปัจจุบันนะคะ ลูกบัวลอยขนาดต้องพอเคี้ยว ไม่ใช่พอกินไม่ทันเคี้ยวก็ต้องกลืนนะคะ จดสูตรได้เลยคะ
ส่วนผสม (สำหรับสองที่)1.แป้งข้าวเหนียวอบควันเทียนให้หอม 1/2 ถ้วย(อบหลายๆครั้งได้..)
2.น้ำตาลทรายละเอียดหรือป่น 1 ช้อนชา
3.น้ำมะพร้าวเผาเคี่ยวจนงวด 1/4 ถ้วย
4.เนื้อมะพร้าวเผา 1 ลูก
5.หัวกะทิ 1  3/4 ถ้วย
6.ใบเตย 2-3 ใบ
7.น้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลปีบ 3-4 ช้อนโต๊ะ ตามความชอบของแต่ละคนนะคะ
8.เกลือ 2-3 หยิบมือ

วิธีทำ1. ผสมแป้งข้าวเหนียวกับน้ำมะพร้าวและน้ำตาลป่น นวดพอให้นุ่มมือ ปั้นเป็นก้อนกลมขนาดเกือบๆ 1 ซม.
2. ต้มกะทิกับใบเตยหั่นเป็นท่อนสั้นๆ ด้วยไฟอ่อน พอเดือดนำแป้งลงต้ม คนบ่อยๆจนแป้งสุกบวมลอยขึ้น
3. ใส่น้ำตาลมะพร้าวและเกลือ รอให้เดือดอีกครั้ง ชิมรสและปรับรสหวานตามใจชอบค่ะ ให้ออกรสเค็มปะแล่มๆค่ะ ใส่เนื้อมะพร้าวและรอให้เดือดอีกที พอเดือดปิดไฟค่ะ ทานขณะร้อนๆและเสร็จใหม่ๆอร่อยที่สุดค่ะ... รับรอง

ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ (ecosystem) คือ ระบบของกลุ่มสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่เดียวกัน มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมีความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิตในแหล่งที่อยู่นั้นด้วย โลกจัดว่าเป็นระบบนิเวศที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิต (biosphere)
แผนผังแสดงความสัมพันธ์ของระบบนิเวศ
ประเภทของระบบนิเวศ
ถ้าใช้แหล่งที่อยู่เป็นเกณฑ์ในการจำแนก สามารถจำแนกประเภทของระบบนิเวศอย่างกว้างๆ ได้ดังนี้
โครงสร้างของระบบนิเวศ (ecosystem structure) ประกอบด้วยส่วนที่มีชีวิตและส่วนที่ไม่มีชีวิต
# ส่วนที่มีชีวิต ได้แก่ พืชและสัตว์ ซึ่งจัดแบ่งตามลำดับขั้นในการบริโภค (trophic level) ได้ 3 ระดับ คือ
- ผู้ผลิต (producers) ได้แก่ พืชประเภทต่างๆ รวมถึงแบคทีเรียบางชนิดที่สร้างอาหารเองได้ (autotrophy)
- ผู้บริโภค (consumers) คือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง (heterotrophy) ต้องดำรงชีวิตด้วยการกินสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ซึ่งอาจแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ สัตว์กินพืช (herbivores) สัตว์กินสัตว์ (carnivores) สัตว์กินทั้งพืชและสัตว์ (omnivores)
- ผู้ย่อยสลาย (decomposers) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ได้อาหารจากสิ่งมีชีวิตที่ตายไปแล้ว โดยการย่อยสลายซากสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นด้วยน้ำย่อยแล้วจึงดูดซึมส่วนที่ย่อยสลายแล้วเหล่านั้นไปเป็นอาหาร ตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ เช่น รา แบคทีเรีย จุลินทรีย์ ผู้ย่อยสลายอินทรียสารบางชนิดมีประโยชน์ เช่น การใช้แบคทีเรียบางชนิดในการผลิตน้ำส้มสายชูหรือนมเปรี้ยว เป็นต้น แต่ผู้ย่อยสลายอินทรียสารบางชนิดก็ให้โทษต่อสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น ทำให้อาหารเน่าเสีย เห็ดราบางชนิดมีโทษถึงชีวิตเมื่อบริโภคเข้าไป
ทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และผู้ย่อยสลายอินทรียสารที่อยู่ในระบบนิเวศมีความสัมพันธ์กันดังแผนภาพ
แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ในการบริโภคในระบบนิเวศ
# ส่วนที่ไม่มีชีวิต แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
- อนินทรียสาร เช่น คาร์บอน (C) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) น้ำ (H2O) และออกซิเจน (O) เป็นต้น
- อินทรียสาร เช่น โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต เป็นต้น
- สภาพแวดล้อมทางกายภาพ เช่น แสง อุณหภูมิ ความชื้น ความเป็นกรด-เบส ความขุ่น เป็นต้น
ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ในระบบนิเวศ
จากการสำรวจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นพบว่าระบบนิเวศมีกลุ่มสิ่งมีชีวิตหลายชนิดอาศัยอยู่ ได้แก่ พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นกับส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบนิเวศก็ย่อมจะส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นๆ ของระบบนิเวศนั้นได้ และยังอาจมีผลต่อระบบนิเวศอื่นๆ ในธรรมชาติด้วย
สิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต อาจแบ่งเป็นปัจจัยใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1. ปัจจัยทางกายภาพ คือ สภาพแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต ได้แก่
- สภาพของบรรยากาศ ได้แก่ อุณหภูมิ แสงสว่าง ความชื้น หรือกระแสลม ซึ่งในแต่ละแห่งจะมีลักษณะเฉพาะ
- สภาพดินและน้ำ สภาพดินที่เป็นกรด-เบสที่แตกต่างกันทำให้พืชมีความแตกต่างกันไป ซึ่งจะมีผลทำให้ผู้บริโภคมีความแตกต่างกันด้วย
2. ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิต โดยแต่ละชนิดก็จะมีความสัมพันธ์ต่อกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันมีอยู่หลากหลายรูปแบบดังนี้
- ภาวะพึ่งพากัน (mutualism) ทั้งสองฝ่ายที่มาอยู่ร่วมกันต่างให้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน เช่น แบคทีเรียไรโซเบียมที่รากต้นถั่วช่วยตรึงไนโตรเจนจากอากาศสะสมไว้ที่รากต้นถั่ว เป็นต้น
- ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน (protocooperation) คล้ายภาวะพึ่งพากัน แต่ทั้งคู่ไม่ได้ดำรงชีวิตร่วมกันตลอดเวลา เช่น ดอกไม้กับแมลง โดยดอกไม้ได้ประโยชน์จากแมลงที่มาช่วยผสมเกสรให้ และแมลงก็ได้น้ำหวานจากดอกไม้เป็นอาหาร
- ภาวะเกื้อกูลกันหรือภาวะอิงอาศัย (commensalism) โดยฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ประโยชน์แต่ก็ไม่เสียประโยชน์ เช่น กล้วยไม้เกาะบนต้นไม้ จะเห็นได้ว่ากล้วยไม้ได้ประโยชน์จากต้นไม้แต่ต้นไม้ไม่ได้ประโยชน์แต่ก็ไม่เสียประโยชน์อะไร
- ภาวะล่าเหยื่อ (predation) ฝ่ายได้ประโยชน์เรียกว่า ผู้ล่า (predator) ส่วนฝ่ายที่เสียประโยชน์เรียกว่า เหยื่อ (prey) เช่น แมวกับนก แมวจะเป็นผู้ล่าเหยื่ออย่างนก เป็นต้น
- ภาวะมีปรสิต (parasitism) ฝ่ายได้ประโยชน์เรียกว่า ปรสิต (parasite) เช่น กาฝากที่เกาะบนต้นไม้ใหญ่ กาฝากเป็นปรสิตที่ทำให้ต้นไม้ใหญ่หรือ ผู้ให้อาศัย (host) เสียประโยชน์
- ภาวะการแข่งขันกัน (competition) เป็นภาวะที่ต้องแก่งแย่งทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดด้วยกันเอง จึงทำให้ทุกฝ่ายที่แก่งแย่งกันเกิดการเสียประโยชน์ทุกฝ่าย
-ภาวะเป็นกลาง (neutralism) คือ ภาวะที่มีสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดต่างดำรงชีวิตกันอย่างไม่เกี่ยวข้องกัน เช่น ตั๊กแตนในนาข้าวกับไส้เดือนดิน เป็นต้น

อาชีพครู

อาชีพครู
อาชีพครู คือ อาชีพที่ใช้ความรู้ ถ่ายทอดความรู้ ด้วยวิธีการสอนและการจัดการเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ
เพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
อาชีพครู ยังสามารถจำแนกออกได้หลายประเภทตามลักษณะการสอนและลักษณะของสังกัดอีกด้วย
เช่น 
ครูในสังกัดโรงเรียนสามัญ จะประกอบไปด้วยครู กลุ่มสาระ และครูกิจกรรม
ยกตัวอย่างเช่น ครูผู้สอนภาษาต่างประเทศ ครูผู้สอนภาษาไทย
ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ ครูผู้สอนศิลปะ
ครูผู้สอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์
ครูผู้สอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ครูผู้สอนพลศึกษาและสุขศึกษา
ครูผู้จัดกิจกรรมแนะแนว และอื่น ๆ ตามลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ครูในสังกัดโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาสายอาชีพ/อาชีวะ จะประกอบไปด้วยครูผู้มีความชำนาญด้านสายอาชีพ
ยกตัวอย่างเช่น ครูผู้สอนช่างยนต์ ครูผู้สอนเขียนแบบ
ครูผู้สอนช่างอิเล็กทรอนิก ครูผู้สอนช่างไฟฟ้า
ครูผุ้สอนช่างก่อสร้าง ครูผู้สอนช่างกล
ครูผู้สอนช่างเชื่อม และครูผู้สอนอื่น ๆ ตามลักษณะสายอาชีพที่ต้องการฝึกฝนผู้เรียนให้เกิดความพร้อมในการประกอบอาชีพ ตามสาขาวิชาที่เปิดสอน
ครูนอกสังกัด นับว่าเป็นครูเช่นกัน อย่างเช่น ครูในสถาบันกวดวิชา
ครูสอนดนตรี ครูสอนเต้น ก็ถือได้ว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นครู แต่ไม่ได้อยู่ในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการ อาจไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู
แต่บุคคลเหล่านั้นถือว่าได้มีการสั่งสอน จึงจัดว่าเป็นครู(ตามทัศนคติของผมเอง)
หรือมากไปกว่านั้นยังมีครูพื้นบ้าน และผู้ที่ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ เขาก็คือครูโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจก็ตาม
และครูในยุคอนาคตก็เกิดขึ้นอีกไม่รู้จักจบจัดสิ้น เพราะเกิดวิทยาการใหม่ ๆ ย่อมต้องมีการถ่ายทอดความรู้ จึงต้องพึงครูหรือผู้มีความรู้มาถ่ายทอดกันตลอดไป
ครูก็คือผู้ถ่ายทอดความรู้ที่ตนมีให้ผู้อื่นได้รู้เหมือนที่ตนรู้
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพครู
1. ผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป (คณะครุศาสตร์/คณะศึกษาศาสตร์)
2. มีใบประกอบวิชาชีพครู
3. มีความรู้ความชำนาญฌฉพาะเรื่อง ตามวิชาที่ตนถนัด
4. มีความซื่อสัตย์ สุจริต
5. รักเด็ก มีจิตใจโอบอ้อมอารี
6. ศรัทธาต่อวิชาชีพครู
7. รักการแสวงหาความรู้
8. ชอบการสอน
9. อื่นๆ
นอกเหนือจากนี้คือคุณสมบัติของครูที่มีความสามารถเฉพาะด้านโดยไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้
1) มีความรู้ ความชำนาญและเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะ
2) เป็นผู้มีประสบการณ์มาก และต้องการถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้รู้และทราบ
3) เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ที่ตนมีให้ผู้อื่น ด้วยวิธีการต่าง ๆ
4) อื่น ๆ
ขอบข่ายงานของอาชีพครู
1. การจัดการสอน/การจัดการเรียนรู้
2. เป็นที่ปรึกษาให้ผู้เรียน
3. ดูแลผู้เรียนทุกคนที่อยู่ในโรงเรียน
4. แสวงหาวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ
5. หน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้างานและสถานศึกษา
แนวทางการพัฒนาอาชีพครู
1. ครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
1.1 ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
1.2 ครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญ
1.3 ครูวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ
2. ครูเอกชน
3. ครูอัตราจ้าง
4. ครูพี่เลี้ยงเด็ก
5. ผู้อำนวยการโรงเรียน
6. เจ้าของกิจการสถานศึกษาเอกชน
7. เจ้าของกิจการโรงเรียนกวดวิชา
8. เปิดสอนพิเศษ
9. ผุ้ทรงคุณวุฒิ
10. นักวิชาการ
11. นักการศึกษา
12. อื่น ๆ
แหล่งความรู้เพิ่มเติม
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เปิดสอนหลักสูตร คณะศึกษาศาสตร์/คณะครุศาตร์
ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม
สำหรับน้อง ๆ ที่สนใจประกอบวิชาชีพครู ควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ
เนื่องจากวิชาชีพครู มีหลากหลายตามสาขาเฉพาะทาง และสามารถต่อยอดในระดับสูงขึ้นไปได้
การเลือกเรียนในระดับอุดมศึกษา ควรศึกษาให้ดี และรู้จักตนเองให้ดีพอ
จึงจะทำให้อาชีพที่เลือกประสบความสำเร็จ และเจริญก้าวหน้า
พร้อมกับมีความสุขในการทำงานที่ตนรัก
รักอาชีพ เท่ากับรักตนเอง

อาชีพแพทย์

อาชีพแพทย์

อาชีพแพทย์
อาชีพหมอ หรือแพทย์
แพทย์ คือ ผู้ให้บริการด้านการรักษาสุขภาพร่างกาย และจิตใจในด้านต่าง ๆ
แพทย์ ในยุคปัจจุบันแบ่งออกได้หลายสาขา ตามสาขาเฉพาะทาง ยกตัวอย่างเช่นโรคผิวหนัง อายุรกรรม ศัลยกรรม โรคกระดูก โรคหู คอ โรคต่อมไร้ท้อ ระบบประสาท โรค แพทย์ผ่าตัด แพทย์ทั่วไป ฯลฯ
ลักษณะงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
วินิจฉัยโรคหรืออาการของโรค
ให้การรักษาโรค
ให้คำแนะนำทางการแพทย์
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
1. มีความรู้ความสามารถทางวิชาการ
2. มีผลการเรียนอยู่ในระดับดีถึงดีมาก
3. มีสิตปัญญาดี
4. มีสุขาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์
5. เป็นผู้เสียสละ
6. รักและศรัทธาต่อวิชาชีพแพทย์
7. มีความมั่นใจในตนเอง
8. ไม่กลัวเลือด
9. ชอบการให้บริการ
10. ไม่รังเกลียดคนป่วย
11. ชื่นชอบงานท้าทาย
12. อดทนต่อสภาพแรงกดดันได้ดี
13. มีความซื่อสัตย์
14. อื่นๆ
แนวทางพัฒนาอาชีพ
1. แพทย์
2. แพทย์ประจำตำบล
3. แพทย์ประจำโรงพยาบาลอำเภอ
4. แพทย์ประจำโรงพยาบาลจังหวัด
5. แพทย์โรงพยาบาลเอกชน
6. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
7. ผู้ประกอบการโรงพยาบาล
8. เจ้าของคลินิก
9. อาจารย์หมอ
10. อื่น ๆ
แหล่งความรู้เพิ่มเติม
1. ห้องแนะแนวประจำโรงเรียน
2. ห้องสมุดต่าง ๆ
3. มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรแพทย์ เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์ ฯลฯ
4. เว็บไซต์
5. เอกสารและหนังสือต่าง ๆ
6. อื่น ๆ

ระบบไหลเวียนโลหิต

การหมุนเวียนของเลือด
            อาหารที่เรากินเข้าไปเมื่อผ่านกระบวนการย่อยอาหารจะได้อนุภาคที่เล็กที่สุดซึ่งสามารถแพร่ผ่านเข้าสู่ผนังของลำไส้เล็กได้ จากนั้นจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือด แล้วถูกนําไปยังส่วนต่างๆของร่างกายโดนระบบหมุนเวียนของเลือด เชนเดียวกับกาซออกซิเจนที่เมื่อถูกนำเข้าสู่ร่างกายแล้วจะถูกนําไปยังเซลล์ต่างๆของร่างกายโดยเม็ดเลือดแดง และก๊าซคาร์บอนไดออกไซดที่เกิดจากกระบวนการหายใจ จะถูกลําเลียงออกจากเซลล์ทางพลาสมา ซึ่งการหมุนเวียนของเลือดและการหมุนเวียนของก๊าซจะเกิดควบคู่กันไป
ในระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วย เลือด หลอดเลือด และ หัวใจ
หัวใจ
หัวใจของมนุษย์มีขนาดเท่ากับกำปั้นที่กำแน่นของผู้ที่เป็นเจ้าของ
การไหลเวียนของเลือด
การไหลเวียนของเลือด
   หัวใจ (heart) ทําหน้าที่สูบฉีดเลือดให้ไหลไปตามหลอดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย แล้วไหลกลับคืนสูหัวใจ หัวใจประกอบด้วยกล้าเนื้อพิเศษที่เรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจ แบ่งห้องออกเป็นห้องบน (atrium) 2 ห้อง และห้องล่าง (ventricle) 2ห้อง หัวใจห้องบนจะเล็กกว่าห้องล่าง ระหว่าง หัวใจห้องบนและห้องล่างจะมีลิ้นกั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ หัวใจห้องล่างซ้ายจะมี ผนังหนาที่สุด เพราะหัวใจห้องล่างซ้ายมีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย
heart (หัวใจ)
heart (หัวใจ)
ส่วนประกอบของหัวใจ
ระบบหมุนเวียนของเลือดในคน
     ในร่างกายมนุษย์มีหัวใจทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตให้ไหลเวียนอยู่ในเส้นเลือด การสูบฉีดโลหิตของหัวใจ ทำให้เกิดแรงดันให้เลือดไหลไปตามเส้นเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และไหลกลับคืนสู่หัวใจ โดยหัวใจของคนเราตั้อยู่ในทรวงอกระหว่างปอดทั้งสองข้างค่อนมาทาด้านซ้ายชิดผนังทรวงอก แบ่งออกเป็น 4 ห้อง ห้องบนสองห้อง มีผนังบาง เรียกว่า เอเทรียม ( atrium ) ส่วนสองห้องล่างมีขนาดใหญ่กว่าและผนังหนา เรียกว่า เวนทริเคิล ( ventricle ) ระหว่างห้องบนกับห้องล่างทั้งสองซีกจะมีลิ้นหัวใจ ( value ) คอยเปิด- ปิด เพื่อกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ
** หัวใจของคนเราประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อที่มิได้อยู่ภายใต้อำนาจบังคับของสมอง **
** หัวใจของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มี 4 ห้อง ของสัตว์ครึ่งบกครึ่น้ำมี3 ห้อง ( ยกเว้นจระเข้ มี 4 ห้อง ) หัวใจปลามี 2 ห้อง หัวใจของสัตว์ปีก มี 4 ห้อง **
ระบบหมุนเวียนของเลือดในคน
ระบบหมุนเวียนของเลือดในคน
     ในร่างกายของมนุษย์ ระบบการหมุนเวียนของเลือดประกอบด้วยหัวใจเป็นอวัยวะสำคัญ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย โดยมีเส้นเลือดเป็นท่อลำเลียงเลือด ดังนั้นระบบหมุนเวียนเลือดของคนเราจึงประกอบด้วยส่วนสำคัญ  3 ส่วน คือ เลือด  เส้นเลือด  และ หัวใจ
1.  เลือด ( blood )  ในร่างกายของคนเรามีเลือดอยู่ประมาณ 6,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร เลือดประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นของเหลว คือ น้ำเลือด ( plasma ) กับส่วนที่เป็นของแข็ง คือ เซลล์เม็ดเลือดแดง  เซลล์เม็ดเลือดขาว และ เกล็ดเลือด
    1.1  ส่วนที่เป็นของหลว  คือ น้ำเลือดหรือพลาสมา ประกอบด้วยน้ำและสารต่างๆ ซึ่งได้แก่ สารอาหารที่ถูกย่อยแล้ว รวมทั้งวิตามิน  เกลือแร่ ฮอร์โมนและสารอื่นๆที่ละลายน้ำได้ สารเหล่านี้จึงอยู่ในรูปสารละลาย มีประมาณ 50 % ของเลือดทั้งหมด น้ำเลือดทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่ถูกดูดซึมจากลำไส้เล็กไปสู่ส่วนต่างๆของเซลล์ทั่วร่างกายและลำเลียงของเสียที่เป็นของเหลวจากเซลล์ เช่น ยูเรีย มาสู่ไต ซึ่งไตจะสกัดเอาสารยูเรียออกจากเลือดแล้วขับถ่ายออกมาในรูปของปัสสาวะ
    1.2  ส่วนที่เป็นของแข็ง  มีอยู่ประมาณ 50% ของเลือดทั้งหมด ประกอบด้วย
       -  เซลล์เม็ดเลือดแดง   ในขณะที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ จะอยู่ในไขกระดูกและมีนิวเคลียส แต่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะเข้าไปอยู่ในกระแสเลือดแล้วนิวเคลียสจะหายไป เม็ดเลือดแดงทำหน้าที่ขนส่งแก๊สออกซิเจน จากปอดไปสู่เซลล์ทั่ร่างกายและขนส่งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการสลายอาหารจากเซลล์มาสู่ถุงลมในปอดเพื่อขับถ่ายออกนอกร่างกายทางลมหายใจออก โดยเฉลี่ยเม็ดเลือดแดงจะมีชีวิตอยู่ในกระแสเลือดประมาณ 90- 120 วัน หลังจากนั้นจะถูกส่งไปทำลายที่ตับและม้าม
       -  เซลล์เม็ดเลือดขาว  มีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง ภายในมีนิวเคลียส ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
       -  เกล็ดเลือด  เป็นชิ้นส่วนของเซลล์ที่มีรูปร่างเป็นแผ่นเล็กๆปนอยู่ในน้ำเลือด ไม่มีนิวเคลียส มีหน้าที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว เวลาเกิดบาดแผลเล็กๆเกล็ดเลือดจะทำให้เส้นใย ( fibrin ) ปกคลุมบาดแผลทำให้เลือดหยุดไหล เป็นการป้องกันไม่ให้ร่างกายเสียเลือดมากเกินไป เกล็ดเลือดจะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 4 วัน
ระบบหมุนเวียนเลือดในคน
ระบบหมุนเวียนเลือดในคน
   2. เส้นเลือด ( blood vessels )  เส้นเลือดในร่างกายคนแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ
  -  เส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ เรียกว่า อาร์เทอรี ( Artery )
  -  เส้นเลือดที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ  เรียกว่า เส้นเวน ( Vein )
  - เส้นเลือดฝอย ( Capillaries )
    เส้นเลือดอาร์เทอรี  เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ มีขนาดต่างๆกัน ขนาดใหญ่คือ เอออร์ตา มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว และขนาดเล็กมีเส้นผ่านศูนย์กลาประมาณ 0.2 มิลลิเมตร ไม่มีลิ้น เส้นเลือดอาร์เทอรี ประกอบด้วยกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นได้ มีผนังหนา สามารถรับแรงดันเลือด ซึงเป็นแรงดันค่อนข้างสูง อันเป็นผลเนื่องมาจากการบีบตัวของหัวใจห้องล่าซ้าย ความดันของเลือดจะสูงมากในเส้นเลือดอาร์เทอรีใกล้หัวใจ คือ เส้นเลือดแดงใหญ่ที่สุดที่เรียกว่า เอออร์ตา และค่อยๆลดลงตามลำดับเมื่ออยู่ห่างจากหัวใจไปเรื่อยๆจนถึงอวัยะต่างๆดังนั้นการวัดความดันเลือด เส้นเลือดที่เหมาะสำหรับวัดความดันเลือดคือเส้นอาร์เทอรีที่ต้นแขน  ผู้ใหญ่อายุ 20 - 30 ปี มีความดันเลือดปกติประมาณ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ตัวเลขข้างหน้า ( 120 )หมายถึง ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว เรียกว่าความดันซิสโทลิก ( Systolie pressure ) ตัวเลขข้างหลัง( 80 ) หมายถึงความดันดลหิตของหัวใจคลายตัว เรียกว่า ความดันไดแอสโทลิก ( Diastolie pressure )
ที่เรียกว่า การจับชีพจร ซึ่งชีพจร ( pluse ) หมายถึงอัตราการเต้นของหัวใจ จงหวะการหยืดหยุ่นของเส้นเลือดอาร์เทอรีเป็นไปตามจังหวะการเต้นของหัวใจ สำหรับการเต้นของหัวใจปกติประมาณ 72 ครั้งต่อนาที แต่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามลักษณะต่างๆ เช่น เพศ วัย อิริยาบท โรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น
ลักษณะภายใจของหัวใจ
   3. หัวใจ ( heart ) หัวใจจะทำหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย โดยจะรับเลือดที่มีออกซิเจนสูงจากปอดเข้าทางหัวใจห้องบนซ้ายผ่านต่อมายังหัวใจห้องล่างซ้าย เพื่อส่งออกไปยังอวัยวะต่างๆขอองร่างกายและจะรับเลือดที่มีออกซิเจนน้อยจากส่วนต่างๆของร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจทางหัวใจห้องบนขวา และผ่านไปยังหัวใจห้องล่างขวาเพื่อส่งไปยังปอด เลือดที่มีออกซิเจนต่ำจะไปยังปอดเพื่อรับออกซิเจนและกลับเข้าสู่หัวใจอีกครั้งหมุนเวียนตลอดเวลาอย่างเป็นระบบ
    หรือกล่าวได้ว่าเลือดดำ ( เลือดที่มีแก๊สออกซิเจนต่ำ )จากส่วนต่างๆ ของร่างกายไหลเข้าหัวใจทางหัวใจห้องบนขวาโดยเลือดจากส่วนบนของร่างกายจะเข้าสู่หัวใจทางเส้นเลือดซุปิเรียเวนาคาวาและเลือดจากส่วนล่างของร่างกายจะเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาทางเส้นเลือดอินพีเรียเวนาคาวา จากนั้นหัวใจห้องบนขวาจะหดตัวให้เลือดผ่านลิ้นหัวใจลงสู่หัวใจห้องล่างขวาแล้วหัวใจห้องล่างขวาจะบีบตัวให้เลือดไปเข้าไปในเส้นเลือดพัลโมนารีอาร์เทอรีจากหัวใจไปยังปอด เลือดดำจะผ่านเข้าไปในเส้นเลือดฝอยรอบๆถุงลมปอด แล้วจ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับถุงลมปอดแล้วรับแก๊สออกซิเจนเข้ามาแทนเป็นผลให้เลือดดำกลายเป็นเลือดแดง ( เลือดที่มีแก๊สออกซิเจนสูง ) แล้วไหลออกจากปอดเข้าสู่หัวใจห้องบนซ้ายทางเส้นเลือดพัลโมนารีเวนจากนั้นหัวใจห้องบนซ้ายจะบีบเลือดลงไปที่หัวใจห้องล่างซ้าย เพื่อให้หัวใจห้องล่างซ้ายบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายต่อไป
การทำงานของหัวใจ
การทำงานของหัวใจ