วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

วิธีการเลือกเนื้อสัตว์

โดย KABUKI GRILL เมื่อ 26 มกราคม 2011 เวลา 7:11 น.
การเก็บรักษาเนื้อสัตว์
วิธีการเก็บรักษาเนื้อสัตว์
   เมื่อซื้อเนื้อสัตว์มาแล้ว ควรเก็บไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 4
องศาเซลเซียสทันที ควรเก็บไว้่ไม่เกิน 2 - 3 วัน เนื่องจากอุณหภูมิ
ดังกล่าว เชื้อจุลินทรีย์ยังสามารถเจริญเติบโตได้ แต่มีอัตราเจริญเติบโต
ต่ำากว่าการไม่แช่เย็น หากต้องการเก็บในระยะเวลายาวนาน ต้องเก็บเนื้อ
สัตว์ไว้ในช่องแช่แข็งที่มีอุณหภูมิต่ำากว่า -18 องศาเซลเซียส จะสามารถ
เก็บรักษาเนื้อสัตว์ได้นาน 12-18 เดือน
   ถ้าซื้อเนื้อสัตว์ชนิดที่แช่แข็ง ควรนำามาแช่ในช่องแช่แข็งของตู้เย็น
ทันที มิฉะนั้นเนื้อสัตว์จะละลาย และอาจเป็นสาเหตุให้เชื้อจุลินทรีย์เติบโตได้
   ถ้าเนื้อสะอาดแล้วไม่ควรล้างทำาความสะอาดอีก เนื่องจากคุณค่า
ของอาหารจะละลายไปกับน้ำา และจะทำาให้เนื้อสัตว์เน่าเสียได้ง่าย
เนื้อสัตว์แช่เย็นดีอย่างไร
   เนื้อสัตว์ ถือว่าเป็นอาหารที่เชื้อจุลินทรีย์สามารถเจริญเติบโตได้ดี
โดยปกติการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 6 ปัจจัย 
ได้แก่แหล่งอาหาร ความชื้น อากาศ อุณหภูมิ เวลา และความเป็นกรด-ด่าง 
ทั้งนี้อุณหภูมิของเนื้อสัตว์เป็นปัจจัยหลักที่มีความสำาคัญ หากเนื้อสัตว์
มีอุณหภูมิสูงกว่า 10 องศาเซลเซียสขึ้นไป จะทำาให้เชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค
อาหารเป็นพิษเพิ่มจำานวนได้รวดเร็ว บางครั้งเชื้อจุลินทรีย์จะสร้างสารพิษ
ที่มีอันตรายมาก สะสมอยู่ในเนื้อสัตว์ ซึ่งการนำาเนื้อสัตว์ไปปรุงสุก ไม่สามารถ
ทำาให้สารพิษดังกล่าวสลายได้ เป็นสาเหตุให้ผู้บริโภคเนื้อสัตว์ดังกล่าวป่วย 
หรืออาจเสียชีวิตได้ 
   การที่นำาเนื้อสัตว์ไปผ่านกระบวนการแช่เย็นนั้น เป็นวิธีการหนึ่ง
ในการหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ เป็นการเก็บรักษาควบคุม
คุณภาพ และรสชาติของเนื้อสัตว์ ทั้งนี้อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษา
เนื้อสัตว์ คืออยู่ระหว่าง 4-10 องศาเซลเซียส



การเลือกซื้อเนื้อสัตว์
   เนื้อสัตว์ถือเป็นแหล่งอาหารที่สำาคัญต่อการบริโภคของมนุษย์ 
เพราะอุดมไปด้วยโปรตีน แร่ธาตุ วิตามินที่จำาเป็น รวมทั้งเป็นแหล่งพลังงาน 
ให้แก่ร่างกาย
   ในประเทศไทยผู้บริโภคนิยมบริโภคเนื้อสัตว์หลายชนิด ได้แก่
เนื้อสัตว์ปีก เนื้อสุกร และเนื้อโคกระบือ โดยความนิยมอาจมีความแตกต่างกัน
ในแต่ละภูมิภาค เชื้อชาติ และศาสนา

การเลือกซื้อเนื้อสุกร
ลักษณะเนื้อสุกรที่ดี
• ควรมีสีชมพูปนแดงเรื่อๆ นุ่ม ผิวเป็นมัน
   เนื้อแน่น 
• ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่เป็นเมือกลื่น 
• ไม่ช้ำาเลือด ไม่แห้ง และไม่มีสีเขียว 
• ไขมันสุกรควรมีสีขาวขุ่น 
ข้อแนะนำ
ควรเลือกซื้อเนื้อสุกรจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือได้รับการรับรองจาก
กรมปศุสัตว์
กรณีซื้อเนื้อสุกรแช่เย็น ให้สังเกตวันที่ผลิตบนบรรจุภัณฑ์ ไม่ควร
เกิน 3 วัน นับจากวันที่ผลิตจนถึงวันที่ซื้อ
ไม่ควรเลือกเนื้อสุกรที่มีสีแดงเกินไป และมีชั้นไขมันบาง เพราะมีความ
เป็นไปได้สูงที่จะปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดง 
เนื้อสุกรที่ปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดงถ้าหั่นและปล่อยทิ้งไว้ จะมีลักษณะแห้ง
และมีสีเข้มกว่าปกติ ส่วนเนื้อสุกรปกติเมื่อหั่นทิ้งไว้จะพบน้ำาซึมออกมา
บริเวณผิว เนื้อสุกรปกติจะมีเนื้อแดง 2 ส่วน (67%) ต่อไขมัน 1 ส่วน (33%)
แต่สุกรที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงจะมีปริมาณเนื้อแดงสูงถึง 3 ส่วน (75%)
ต่อไขมัน 1 ส่วน (25%)


การเลือกซื้อเนื้อโค และกระบือ
ลักษณะเนื้อโค และกระบือที่ดี
• ควรมีสีแดงสม่ำาเสมอตลอดทั้งชิ้น 
• ควรมีไขมัน (marbling) แทรกกระจายอยู่ในชิ้นเนื้อ ในโคอายุน้อย
   ควรมีไขมันสีขาวครีม ในโคแก่ หรือโคนมที่อายุพ้นวัยให้นมแล้ว
จะมีไขมันสีเหลือง
• ไม่ช้ำาเลือด ไม่แห้ง กดแล้วไม่บุ๋ม
• ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่เป็นเมือกลื่น  
ข้อแนะนำ
ควรเลือกซื้อเนื้อโค และกระบือ จากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือได้รับการ
รับรองจากกรมปศุสัตว์
 กรณีซื้อเนื้อโค และกระบือแช่เย็น ให้สังเกตวันที่ผลิตบนบรรจุภัณฑ์ 
ไม่ควรเกิน 3 วัน นับจากวันที่ผลิตจนถึงวันที่ซื้อ
ความแตกต่างระหว่างเนื้อโคกับเนื้อกระบือ
• เนื้อโคมีสีแดง เนื้อแน่นละเอียด ไขมันโคมีสีเหลือง 
• เนื้อกระบือจะหยาบ เนื้อเหนียว และมีสีคล้ำากว่าเนื้อโค ไขมันที่ติดเนื้อ
   กระบือจะมีสีขาว



การเลือกซื้อเนื้อสัตว์ปีก
ลักษณะเนื้อสัตว์ปีกที่ดี
• ควรมีลักษณะเนื้อแน่น ผิวตึง เมื่อใช้นิ้วแตะต้องไม่เป็นรอยบุ๋ม
   ตามแรงกด
• เนื้อมีสีสด ไม่ซีดหรือมีจ้ำาเขียว ใต้ปีก ขา และลำาคอที่ต่อกับลำาตัว
   ต้องไม่มีสีคล้ำา
• ไม่มีจุดเลือดออกหรือตุ่มหนอง ไม่มีแผลตามตัว 
• ลูกตาไม่ลึกบุ๋ม
• ไม่มีกลิ่นเหม็น และไม่เป็นเมือกลื่น 
ข้อแนะนำ
ควรเลือกซื้อเนื้อสัตว์ปีกจากแหล่งที่เชื่อถือได้ หรือได้รับการรับรอง
จากกรมปศุสัตว์
 กรณีซื้อเนื้อสัตว์ปีกแช่เย็น ให้สังเกตวันที่ผลิตบนบรรจุภัณฑ์ 
ไม่ควรเกิน 3 วัน นับจากวันที่ผลิตจนถึงวันที่ซื้อ
การเลือกซื้อเนื้อไก่ 
• ถ้าเป็นไก่อ่อน เล็บจะแหลม หนังใต้อุ้งเท้าบาง เดือยสั้น เนื้ออก
   หนาและนุ่ม
• ถ้าเป็นไก่แก่จะมีปลายเล็บมน หนังใต้อุ้งเท้าหนาแข็ง เดือยยาว 
การเลือกซื้อเนื้อเป็ด 
• ถ้าเป็นเป็ดอ่อน ปากและเท้าจะเป็นสีเหลือง 
• ถ้าเป็นเป็ดแก่  เท้าจะมีสีดำา เนื้อจะเหนียว และมีกลิ่นสาบมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น